หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

การวาดเส้นภาพคน

การวาดเส้นภาพคน

การเขียนภาพคนหรือมนุษย์ ผู้ที่จะวาดภาพต้องศึกษาในเรื่องของสัดส่วน และโครงสร้างของร่างกายมนุษย์เสียก่อนเพื่อเป็นแนวทางซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่ถูกต้อง เพราะถ้าไม้ถูกต้อง หรือผิดสัดส่วน ก็จะมองหรือรู้ได้ทันทีเพราะเป็นสิ่งใกล้ตัวอยู่แล้ว การเขียนภาพคนมีสิ่งต้องคิดคำนึง อยู่มาก เพราะมีทั้งเพศหญิง เพศชาย และมีอิริยาบถต่าง ๆ เช่น นั่งนอน เดิน ยืนฯลฯ ซึ่งในแต่ละ ท่าทางของการเคลื่อนไหวจะให้ความรู้สึก และสวยงามเหมาะสมต่างกัน

สัดส่วนและโครงสร้างของมนุษย์
      การศึกษาหลักเกณฑ์สัดส่วนเบื้องต้น มีความจำเป็นในการวาดเส้นภาพคน และมีความสำคัญอ้างอิงในงานออกแบบด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะที่มุ่งประโยชน์ทางด้านการใช้สอย เพื่อกำหนดขนาดต่าง ๆ ให้เหมาะกับการใช้และอำนวยความสะดวก ในการหาระยะสัดส่วนที่เป็นมาตรฐาน จะสรุปโดยเอาค่าเฉลี่ยของคนโดยทั่วไปซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง ให้เป็นตัวแทนของคนทั้งหมด (HUMANSCALE)
      การรู้สัดส่วนช่วยให้
      1. ช่วยในการวาดภาพคนได้สัดส่วนที่ถูกต้องมีความสวยงาม หรือสร้างสรรค์ได้ตาม จุดประสงค์
      2. เป็นข้อมูลในการออกแบบผลงานต่าง ๆ เพื่อการใช้สอยที่สะดวกสบาย เพื่อความ สวยงามและ แนวความคิดสร้างสรรค์
      3. ช่วยในการสร้างเสริม ปรับปรุง หรือพัฒนาบุคลิกของบุคคล
การกำหนดสัดส่วนของมนุษย์จะถือเอากะโหลกศีรษะมาจรดปลายคางถือเป็น 1 ส่วนเต็ม ร่างกายที่ดูดีได้สัดส่วนของคนเราจะอยู่ 7 ส่วนครึ่ง แต่ก็ยังมีสัดส่วนที่สวยงามกว่าปกติขึ้นไปอีก โดยมีการจัดสัดส่วนของมนุษย์ ได้เป็น 4 ระดับ คือ
      1. สัดส่วนทั่วไป (NORMAL) 7 ครึ่ง ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ดูดีอยู่แล้ว
      2. แบบอุดมคติ (DIALISTIC) เท่ากับ 8 ส่วน มีรูปร่างสวยงามขึ้น
      3. ต้นแบบ (FASHION) เท่ากับ 8 1/2 มีรูปร่างสวยงามสง่า ใช้เป็นแบบอย่าง หรือ เดินแบบ
      4. เรือนร่างเทพนิยาย (HERDIC) เท่ากับ 9 ส่วน มีรูปร่างสวยงามสง่า เกินความ   เป็นจริง

โครงสร้างของคน อย่างง่าย และลักษณะพื้นฐานจะเห็นว่าใช้เส้นในการวาดเพียง 5 เส้นเท่านั้น เส้นแรกแนวตั้ง เป็นลำตัว เส้นที่ 2-3 ก็จะเป็นส่วนขา และ 4-5 ก็จะเป็นแขน ถ้าจะแสดงเพศหญิง หรือชาย ก็เติมเป็นส่วนหัว หรือ ทรงผม
ดังนั้นในการฝึกวาดในระยะแรก จะเป็นโครงสร้างที่เป็นเส้นตรงในแต่ละส่วนอย่างง่าย เพียง  เส้น  คือ  เส้นตรงของลำตัว เส้นตรงของขาซ้าย  ขาขวา  เส้นตรงแขนซ้าย  และแขนขวา

ดังนั้นในการฝึกวาดในระยะแรก จะเป็นโครงสร้างที่เป็นเส้นตรงในแต่ละส่วนอย่างง่าย เพียง  เส้น  คือ  เส้นตรงของลำตัว เส้นตรงของขาซ้าย  ขาขวา  เส้นตรงแขนซ้าย  และแขนขวา
การวาดโครงสร้างที่ใช้เพียง 5 เส้น จะเป็นขั้นเริ่มต้น ภาพที่ได้อาจจะให้ความรู้สึกแข็งทื่อตามสภาพของเส้นตรงและจำกัดจำนวนของเส้น แต่ถ้าฝึกไปสักระยะหนึ่งแล้วเพิ่มรายละเอียดขึ้น ในส่วนส่วนแขนและขา จากเส้นตรงก็จะเริ่มหักเส้น ในส่วนของลำแขนทั้งซ้าย-ขวา ช่วงข้อศอก และ ในส่วนของลำขาทั้งซ้าย-ขวา ช่วงหัวเข่า  ซึ่งทำให้เกิดโครงสร้างที่มีท่าทางขึ้น การงอของ ข้อศอก และ หัวเข่า จะต้องไปในทิศทางที่เป็นไปได้ของการขยับ และ การงอของมนุษย์  ภาพหรือท่าทางต่างๆ ก็จะเป็นไปตามธรรมชาติ และ มีความสวยงามตามอิริยาบถนั้น ๆ

การแต่งเติมความหนาของเส้นในบางส่วนจะเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ภาพมีมิติขึ้น มีความสวยงามขึ้น แต่ต้องเลือกในส่วนที่เป็นไปได้ใกล้เคียงกับ สัดส่วนของมนุษย์ เช่น ในส่วนของลำตัว กล้ามเนื้อของน่อง เท้า มือ เป็นต้น
การวาดเส้นโครงสร้างของคนที่มีความกว้างของร่างกาย โดยเพิ่มเส้นตรงอีก 2 เป็น 7 เส้น  คือ ส่วนเส้นตรง ที่เป็นช่วงไหล่ และ ตะโพก

เมื่อวาดได้ภาพที่เป็นโครงสร้างคนในลักษณะเส้น การตกแต่ง เพิ่มเติม ในส่วนของ ศีรษะ มือ เท้า ก็สามารถทำต่อได้รวมทั้งการใส่เรื่องราว กิจกรรมต่างๆ ให้กับรูปร่างนั้นๆ

การเขียนรูปใบหน้าหลักเบื้องต้น คนเราจะมีความสมดุลแบบซ้ายขวา คือ ทั้งซ้ายกับขวาจะมีขนาดลักษณะเหมือนกัน ดังนั้นการร่างภาพร่างเส้นเบาก่อนจะเป็นส่วนซ้ายให้การวาดรูป ใบหน้าได้สัดส่วนและเหมือน โดยมีเส้นแบ่งกลาง แบ่งเส้นระดับตำแหน่ง ตา จมูก ปาก ส่วนที่จะต้องได้มีลักษณะขนาดเท่ากันมากก็เป็นส่วนของดวงตากับหูในกรณีภาพหันหน้าตรง การวาดจากร่างเบา แล้วลงเส้นหนักจริง อาจเป็นการฝึกในระยะแรก เมื่อมีความแม่นยำก็อาจไม่ต้องร่างก็ได้

การฝึกอาจเริ่มจากภาพนั่งปกติ ด้านข้าง ด้านหน้าหน้าตรง แล้วค่อยเอียงหน้าก้ม และอาจใส่ลีลาอารมณ์ต่าง ๆ ต่อมาเมื่อมีความชำนาญขึ้น การจะเขียนวาดให้มีมุมมองต่าง ๆ อย่างไร ก็ตาม การยึด คือ เส้นดิ่งกลางหน้าและระดับตา จมูก ปาก เป็นเส้นร่างหลักที่จะเป็นสัดส่วนกำหนดให้เป็นอย่างดี

การวาดภาพคนทั้งตัว โดยนำส่วนของลำตัวจากโครงเส้น พร้อมกับกำหนดท่าทาง แล้วเพิ่มความหนาของลำตัว ส่วนของใบหน้า ก็เริ่มจากโครงสร้างของวงกลม แบ่งส่วน ตา จมูก ปาก และรายระเอียดของเครื่องแต่งกาย การฝึกเขียนภาพคนทั้งตัว โดยเฉพาะที่แสดงท่าทางต่างๆ สิ่งที่ควรระวัง คือเรื่องของ สัดส่วน จะต้องได้ภาพที่ดูเป็นลักษณะของคนปกติ สมบูรณ์ เพราะภาพคนเป็นสิ่งใกล้ตัว จึงง่ายแก่การตรวจสอบ ถ้ามีการผิดเพี้ยน

ภาพวาดเส้นภาพคนจะฝึกจากโครงเส้นอย่างง่าย และ มามีสัดส่วน คือ ส่วนหนาของลำตัว ลำแขน-ขาตามลำดับหรืออาจจะพูดในอีกแง่หนึ่งว่าจากโครงกระดูกก็มาใส่เนื้อหนัง หรือเสื้อผ้าให้ เมื่อได้ภาพที่สมบูรณ์ ก็จะเป็นขั้นตอนที่วาดภาพของคนที่ร่วมกลุ่ม จัดเป็นองค์ประกอบของภาพ เพื่อการออกแบบ หรือ เพื่อการโฆษณา ภาพวาดเส้นลักษณ์นี้ ต้องให้ความรู้สึกขององค์ประกอบรวม มีการซ้อน หรือบังภาพคน เพื่อให้ลีลาท่าทางที่น่าสนใจ ชวนมองนอกเหนือจากความถูกต้อง สวยงามของโครงร่าง ซึ่งอาจเป็นการนำท่าทางหลายลักษณะมารวมกัน

ภาพคนตามความจริงเป็นส่วนที่ใกล้ตัวที่สุด แต่ก็ไม่ง่ายที่จะวาดได้ดี และสมบรูณ์ที่สุด เพราะมีหลายรูปแบบ เช่น เด็กวัยรุ่น ผู้หญิง ผู้ชาย คนพิการ คนแก่ และทั้งหมดนี้ยังแสดงอิริยาบถต่างๆ อีกด้วย นับตั้งแต่ นอน นั่ง เดินกระโดด วิ่ง คลาน ซึ่งมีรูปแบบที่ต้องสอบได้ว่าถ่ายทอดได้ถูกต้องหรือเปล่า ที่กล่าวมานั้นยังไม่ได้รวมที่จะต้องวาดแล้วแสดงออกให้เห็นถึงอารมณ์ต่าง ๆ ได้อีก เช่น มีท่าทางโศกเศร้า ดีใจ หัวเราะ ร้องไห้ ร่าเริง ฉงน ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตามการถ่ายทอกภาพคน ก็จะเลือกวาดตามที่จะนำไปใช้งานตามจุดประสงค์นั้น ๆ

ในการวาดภาพคนโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
1. ภาพคนครึ่งท่อน (Portrait) เป็นการแสดงรายละเอียด ที่ต้องการความเหมือน มีความถูกต้อง ครบถ้วนโดยเฉพาะ แสงเงา ส่วนใหญ่จะเป็นภาพหุ่นนิ่งไม่มีอาการเคลื่อนไหว

1.    2. ภาพเต็มตัว (Figure) เป็นภาพที่วาดให้เห็นความครบถ้วนสมบูรณ์ สัดส่วนถูกต้อง และ มีการจัดท่าทางทีสง่างามในภาพเต็มตัวที่มีทั้งหุ่นนิ่งและเคลื่อนไหว

การวาดเส้นภาพคนประกอบในงานออกแบบทางสถาปัตยกรรม และงานตกแต่งภายใน จะไม่เน้นรายละเอียดของใบหน้า หรือ กล้ามเนื้อมากนักซึ่งพอจะสรุปลักษณะได้ดังนี้
1. ลักษณะของเส้นเรียบง่ายไม่ซับซ้อน
2. เน้นสัดส่วนถูกต้องและสามารถเปรียบเทียบกับสัดส่วนสิ่งที่อยู่รอบตัวได้
3. ไม่เน้นรายละเอียดของใบหน้ามากนัก วาดแต่เค้าโครง แสดงเพศ และวัย
4. ลักษณะท่าทางจะวาดให้มีความเคลื่อนไหวหรือมีอิริยาบถที่เข้าใจได้
5. มักจะเป็นภาพเห็นทั้งตัวและแต่งตัวบอกบุคลิกเด่นชัด
6. สัดส่วนที่ใช้เขียนจะมีความสวยสง่า หรือใช้สัดส่วนแปด แปดครึ่ง ถึงเก้า
รูปแบบภาพคนประกอบในงานออกแบบ
รูปแบบภาพคนประกอบในงานออกแบบทางสถาปัตยกรรม และงานตกแต่งภายใน ดังนี้

การวาดภาพคนที่เป็นส่วนประกอบงานออกแบบด้านสถาปัตยกรรม และตกแต่งภายใน อาจจะไม่ต้องวาดรายละเอียดมากนัก แต่ต้องวาดให้ได้เค้าโครงของ ผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก และท่าทาง อิริยาบถต่างๆได้ เช่นกำลังเดิน นั่ง ในบางภาพอาจจะมีการวาดตกแต่งเครื่องใช้ทั่วไปที่เข้าใจง่ายประกอบโดยมีความสอดคล้องกับงานออกแบบนั้น ๆ ด้วย เช่น กระเป๋า กล้องถ่ายรูป ซึ่งจะทำให้ภาพสมบูรณ์ สวยงาม
สรุป
การเขียนภาพคนต้องเริ่มจากโครงสร้างที่เป็นเส้นอย่างง่าย โดยศึกษาและสังเกตจากสัดส่วนของคนเราที่เป็นสิ่งอยู่ใกล้ตัวอยู่แล้ว จากโครงสร้างที่เป็นเส้นก็จะค่อยเพิ่มส่วนต่าง ๆ ทีทำให้เกิดมิติของร่างกาย เช่น ความกว้าง ลำตัว ลำแขน ขา รายละเอียดที่จะเพิ่มเติมส่วนที่สำคัญ ได้แก่ การเขียนรูปใบหน้า ซึ่งทั้งหญิงและชายก็จะใช้รูปวงกลมเป็นหลักในการร่างภาพ แต่ลักษณะของภาพคนแม้นจะเป็นสิ่งใกล้ตัว แต่ก็มีความยากง่าย ถ้าจะถ่ายทอดให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะคนเรามีทั้งเด็กทารก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ คนชรา คนพิการ และยังแสดงกิจกรรมต่างๆ เล่นดนตรี กีฬา ตลอดจนแสดงออกทางอารมณ์ เช่น โกรธ ร่าเริง เศร้า อาย ฉงน ปวดเร้า ซาบซึ้ง ฯลฯ นอกจากจะฝึกในทางด้านทักษะฝีมือแล้วการฝึกสังเกตกริยาท่าทางของคนทั่วไป เป็นแนวทางในการวาดภาพได้สมบรูณ์ ในการเขียนภาพบางครั้งก็ไม่ได้เน้นรายละเอียดทั้งหมด จะวาดให้ถูกต้องทางด้านสัดส่วนเพื่อใช้เพียงภาพประกอบให้ดูดี เช่น ในงานทัศนียภาพตกแต่งภายในหรือทางสถาปัตยกรรม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น