หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

รวมภาพ Drawing



























ฝึกเขียนภาพแบบง่ายๆ

การที่เราจะเข้าถึงหัวใจของการเขียนเส้นนั้น จะต้องผ่านการฝึกฝนการทดลอง เขียนเส้นชนิดต่างๆก่อน ที่จะสร้างขึ้นมาเป็นภาพเขียน การทดลองเขียนเส้นชนิดต่างๆจะทำให้เราเกิดความสัมพันธ์กันระหว่างนิ้วมือข้อมือสายตาและสมอง ในการฝึกขั้นต้นควรที่จะฝึกฝนเขียนเส้นในปริมาณมากๆเช่นเขียนเส้นตรงในปริมาณที่มากๆ เส้นโค้งวงกลมในที่มากๆ จะทำให้เราเข้าใจเรื่องเส้นมากขึ้นการเขียนเส้นในที่นี้ไม่เหมือนกับงานออกแบบ หรือดีไซน์หรืองานเขียนแบบ แต่การเขียนเส้นที่ว่านี้แตกต่างกันตรงที่งานออกแบบ สามารถที่จะมีอุปกรณ์เสริมหรือเครื่องมือเข้า
มาช่วยใ นการเขียนเส้นได้แต่งานเขียนเส้นในที่นี้ จัดเป็นงานประเภทวิจิตรศิลป์ไม่ควรมีอุปกรณ์ใดๆมาช่วย ควรจะมีการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กัน ระหว่างข้อมือกับความแม่นยำของสมองและสายตาการเขียนเส้นและการซ้ำเส้น* การเขียนเส้นแบบย้ำที่จุดเดิมหลายๆครั้ง หรือการซ้ำเส้นนั้นแหละครับจะทำให้ภาพเขียน หรือผลงานช้ำได้ซึ่งจะทำให้ภาพเขียนมีจุดบกพร่อง ไม่สวยงามเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง วิธีแก้ไขก็คือไม่ควรเขียนเส้นซ้ำไปซ้ำมาในจุดเดียวกัน และมีจำนวนเส้นที่เยอะๆเช่นจุดไหนมีน้ำหนักที่เข้ม ก็แรเงาลงไปด้วยความมั่นใจไปเลย หากกลัวๆกล้าๆแบบไม่มั่นใจเขียนซ้ำไปมาหลายๆครั้ง ภาพจะช้ำได้ต้องฝึกเขียนอยู่บ่อยๆ และก็หมั่นสร้างความมั่นใจให้กับตัวด้วยนะครับ ถ้ามีความมั่นใจเกินร้อยบวกกับความชำนาญที่หมั่นฝึกฝนมาตลอด รับรองได้เลยงานเขียนจะออกมาเป็นที่น่าพอใจมากสำหรับตัวผู้เขียนเอง และผู้ที่ได้ชมผลงานของเรา ต้องพอใจแน่นอนฟันธงครับ ติดต่อเจ้าของบทความได้ที่ email  bhupakorn@gmail.com สาระความรู้เกี่ยวกับการเขียนภาพเหมือนบางส่วนในเวบไซด์นี้ผู้ เขียนเองก็ศึกษามาจากหนังสือของอาจารย์ลาภอำไพรัตน์ ครับและบางส่วนก็จาก ประสบการณ์ของตัวเองล้วนๆครับ ทั้งนี้ก็การหมั่นฝึกฝนอยู่บ่อยๆและการลองผิดลองถูกจนเกิดประสบการณ์ขึ้นมาเองโดยตัวเองแท้ๆเลยครับ การเขียนตาจมูกปากและหู ในการเขียนอวัยวะต่างๆบนใบหน้าคนจะว่าไปแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย ยิ่งเจอใบหน้าของคน ที่ไม่มีจุดเด่นเลยก็ยิ่งเป็นเรื่องที่ยากเข้าไปใหญ่ (ใบหน้าของคนที่มีใบหน้าแปลกๆจะมีจุดเด่นในการเขียนให้เหมือนได้ง่าย) ไหนจะต้องนำมาวางในตำแหน่งต่างๆ บนใบหน้าให้ได้สัดส่วนและยิ่งต้องทำให้เหมือนอีก ดูๆไปมันยากจังเลยนะครับ แต่ตอนนี้ผมมีวิธีที่ดูเหมือนว่าจะง่ายอีกวิธีหนึ่งมาแนะนำ เป็นวิธีที่ผู้เขียนก็ใช้อยู่ใ นช่วงที่เริ่มฝึกเขียนภาพคนเหมือน ในระยะเริ่มแรกขั้นตอนแรกสุดก็คือผู้เขียนเองต้องฝึกเขียนอวัยวะต่างๆ บนใบหน้าไม่ว่าจะเป็นตาจมูกปากหูคิ้วฯลฯ ให้ชำนาญเสียก่อนโดยฝึกเขียนแยกออกมาทีละส่วน ฝึกเขียนบ่อยๆและเขียนให้ได้จำนวนทีเยอะที่สุด ยิ่งเยอะเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นเรื่องดี กับตัวผู้ฝึกเขียนเอง(ยิ่งเขียนมากยิ่งได้ฝีมือมาก)เมื่อเราชำนาญ ในเรื่องของการเขียนอวัยวะแบบแยกกันแล้ว จากนั้นก็ค่อยเอามารวมกัน บนใบหน้าทำอย่างนี้บ่อยๆก็จะชินและจะเห็น

ชัดได้เลยว่า  การเขียนภาพเหมือนมิใช่เรื่องยากอีกต่อไป อย่างที่คิดกันผมเองตอนเริ่มฝึกเขียนใหม่ๆ ก้อรู้สึกไม่ค่อยคล่องเลย แต่ด้วยความที่มีใจรักและสนใจในด้านนี้เป็นต้นทุนอยู่แล้ว ก็เลยไม่ละความพยายามลงแบบง่ายๆ ในที่สุดก็สามารถเขียนภาพคนเหมือนได้สำเร็จ ภาพแรกของผมคือรูปผมเองครับแต่แรกๆก็ไม่กล้าให้ใครดูครับ อายเพราะว่าเขียนน้ำหน้าตัวเองไม่ค่อยเหมือนครับแต่ก็เขียนอีกหลายๆครั้งถึงจะเหมือน พอเหมือนแล้วเริ่มเอามาอวดครับ อวดเพื่อนตัวเองพอเพื่อนๆเห็นเขาก็อยากมีภาพเขียนรูปตัวเองบ้าง

ขั้นตอนการเขียน

 1. จับดินสอที่ใช้เขียนรูปยื่นออกไปให้สุด ตั้งฉากหรือขนานกับพื้น
2. ใช้นิ้วหัวแม่มือเลื่อนขึ้นเลื่อนลง เพื่อวัดขนาดรูปทรงที่จะวาดวัดความสูง ความกว้าง ความยาว แล้วเทียบกับขนาดกับรูปทรงใกล้เคียง3. นำขนาดสัดส่วนที่วัดมาเทียบลงบนกระดาษ อาจจะย่อหรือขยายจากแบบจริง แต่ต้องให้ได้ขนาดสัดส่วนตามการวัด ฝึกหัดให้
ชำนาญและแม่ แบบเส้นต่างๆก่อนลงมือเขียนรูปขั้นตอนแรกให้หัดเขียนเส้นตรง เส้นนอน เส้นเฉียง จากซ้ายไปขวา จากขวาไปซ้าย ซ้ำๆกันให้คล่องมือ หลังจากนั้นก็ให้หัดแรเงาโดยใช้เส้นต่างๆ ให้คล่องทั้งเฉียงขึ้นเฉียงลง

การขึ้นโครงสร้างด้วยเส้นแกน- เส้นแกน เส้นเป็นแกนของทุกสิ่งบนโลกทั้งมีชีวิติและไม่มีชีวิต ถ้าจับเส้นแกนได้ก้อเท่ากับว่าน้องๆจะสามารถเขียนภาพได้ดี และรวดเร็วเส้นแกนเป็นฐานการขึ้นโครงของหุ่นทุกแบบ- เส้นรอบนอก ( outline )เป็น เส้นรอบนอกของเส้นแกนใช้เพื่อกำหนดรูปทรงของวัตถุสิ่งของต่างๆที่จะวาด น้ำหนักแสงเงาน้ำหนักแสงเงาเกิดจากแสงที่ไปกระทบกับวัตถุในระดับต่างๆกัน ทำให้วัตถุดูเป็นมิติน้องๆรู้จักลักษณะของแสงกันบ้างหรือยัง..!มนุษย์สามารถมองเห็นได้ก็เพราะมีแสง เมื่อแสงกระทบไปสู่สิ่งของแล้วกระทบเข้าที่ตาและถ่ายทอดไปที่สมองทำให้เราสามารถมองเห็นได้ และสะท้อนจากวัตถุมีค่าความเข้มอ่อนแตกต่างกัน ตามลำดับ เราเรียกลำดับแสงเงานี้ว่า น้ำหนักลักษณะของแสงเงา1.แสงสว่างที่สุด HIGHLIGHTเป็นส่วนที่ได้รับแสงโดยตรง มีความสว่างมาก2. แสงสว่าง LIGHT อยู่ในส่วนอิทธิพลของแสง มีน้ำหนักเทา3. เงา SHADOW เป็นส่วนอยู่ตรงที่ได้รับแสงน้อยมาก มีน้ำหนักเกือบดำ4. เงามืด CORE OF SHADOW เป็นส่วนที่ไม่ได้รับแสงเลย 5. เงาสะท้อน REFLELECED LIGHT เป็นส่วนที่ไม่ได้รับแสงโดยตรง แต่เป็นการสะท้อนกลับจากวัตถุใกล้เคียง6. เงาตกทอด CAST SHADOW เป็นบริเวณที่เงาของวัตถุตกทอดไปตามพื้นย้ำ จนสามารถใช้สายตาวัดขนาดได้

ขั้นตอนการเขียนภาพ



วิธีที่จะแนะนำต่อไปนี้ เป็นการแนะนำ แบบคร่าวๆ  เหมาะสำหรับคนที่มีพื้นฐาน มาบ้างแล้วเล็กน้อยส่วนท่านที่ยังไม่มีพื้นฐานมาเลยก็สามารถอ่านได้นะ ครับ ส่วนวิธีเขียนภาพแบบละเอียดที่เริ่มจากพื้นฐานการเขียนเลยนั้นผมก็มีแนะนำในเว็บนี้เช่นกันครับ1.ร่างภาพก่อนการลงน้ำหนักนั้นเราควรร่างภาพให้ สมบูรณ์และถูกสัดส่วนเสียก่อน  เพราะถ้าหากว่าภาพร่างของเราไม่สมบูรณ์หรืผ ิดเพี้ยนในขั้นแรก   ก็จะไม่มีทางเลยที่จะมีภาพเขียนที่สมบูรณ์แบบและถูกสัด ส่วนโดยในการร่างภาพนั้นควรจะร่างเบาๆไว้ก่อนกันผิดพลาด  เพราะถ้าพลาดก็ จะลบออกได้ง่าย  2. กำหนดแสงเงา ขั้นตอนนี้ สำหรับผู้อ่านบางท่าน   หรือรูปต้นแบบบางรูปอาจจะไม่จำเป็น  ขั้นตอนนี้ เหมาะสำหรับภาพต้นแบบที่มีแสงจัด  เงาจัด   ดูว่าแสงเข้ามาทางไหนและเงาตก กระทบไปในทิศใดก็ทำสัญลักษณ์ไว้ด้วยการลงน้ำหนักบางๆเผื่อเวลาที่จะลง น้ำหนักจริงๆจะได้ไม่ลายแต่หากรูปต้นแบบที่นำมาเขียนนั้น  มีแสงและเงา ที่นุ่มๆกลมกลืนไม่ตัดกันชัดเจนมากนักก็สามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย3.แรเงาน้ำหนักกลางจริงๆแล้วขั้นตอนนี้เป็นขั้น ตอนที่สอง หากว่ารูปที่เลือกเขียนเป็นรูปที่มีน้ำหนักแสงเงาที่ไม่ชัดเจนมากหลักจากร่างภาพที่สมบูรณ์แล้วก็แรเงาำหนัก โดยรวมๆให้เป็น กลาง น้ำหนักกลางที่ว่านี้ก็คือน้ำหนักของลาย

เส้นที่สามารถลบออกเพื่อ ทำแสงสะท้อน (reflectedlight)หรือน้ำหนักสว่างที่สุด(highlight)ได้และสามารถลงน้ำหนักเข้มสุด(core of  shadow )  ได้เช่นกัน  ส่วนจุดที่เห็นว่าโดนแสงมากสุดหรือสว่าง สุดก็สามารถเว้นน้ำหนัก  ขาวได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องลงน้ำหนัก    การลง น้ำหนักกลางไว้ก่อนนี้จะทำให้สะดวกมากยิ่งขึ้น    ในการแยกแสงและเงาออกจากกันและทำให้ระยะเวลาในการเขียนภาพลดน้อยลงด้วย 4. กำหนดทิศทางผม ขั้นตอน ที่ผ่านมาข้างต้น    เป็นขั้นตอนที่ว่าด้วยการเขียนใบหน้าของคน   แต่มีอีก อย่างที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการเขียนใบหน้าคนเหมือน  ก็คือการเขียนผมหรือ ทรงผม หากว่าขาดจุดนี้ไปก็จะไม่ทำให้ภาพเหมือนที่เขียนสมบูรณ์ได้   เว้นแต่แบบที่ เลือกมาเขียนจะหัวล้าน   ขั้นแรกในการเขียนผม  ก็คือควรจะกำหนดทิศทาง  ของ ทรงผมไว้อย่างคร่าวๆก่อน  ด้วยการลงน้ำหนักโดยการนอนดินสอ   เพราะการนอน ดินสอนั้นจะทำให้  ผู้เขียนนั้นไม่เกร็งมาก  มีอิสละในการกำหนดทิศทาง   และ ได้ปริมาณการลงน้ำหนักในการขีดหรือลากภายในครั้งเดียว  5. แร เงาน้ำหนักผม     ขั้นตอนนี้เกือบจะสุดท้ายแล้วครับ   แต่ยังมีการเก็บราย ละเอียดอีกขั้นตอนหนึ่ง   เป็นขั้นตอนสุดท้ายจริงๆ จากที่กำหนดทิศทางทรงผมเรียบร้อยแล้ว   ต่อไปก็แรเงาน้ำหนักของทรงผมที่ ชัดเจน   ที่กำหนดไว้ตามขั้นตอนที่ 4 เพราะหากทิศทางทรงผมไม่ชัดเจน   ก็จะ ยุ่งเหยิงไม่เป็นธรรมชาติขั้นตอนนี้สังเกตให้ดีว่าจุดไหนมีแสงเข้าก็ลง น้ำหนักเบาๆหรือเว้นขาวไว้เลย   จุดไหนมืดก็แรเงาความเข้มได้เต็มที่เลยครับ6.เก็บรายละเอียดขั้นตอนสุด ท้ายของการเขียนภาพเหมือนไม่ว่าจะเป็นการเก็บรายละเอียด   ขนตา  ไร ผม  น้ำหนักต่างๆ   เสื้อผ้า   คิ้ว   พื้นหลัง ( background) ฯลฯ หากใส่ใจในรายละเอียดมากเท่าไหร่   ผลงานภาพเขียนก็จะดูมีเสน่ห์  และมีคุณ ค่ายิ่งขึ้น ขั้นตอนก็มีแค่นี้ละครับ จะว่ายากก็กะไร  จะว่าง่ายก็ไม่เชิง อะไรๆก็สู้ความพยายามของมนุษย์ไม่ได้ครับ  อยากรู้ก็ต้องรองทำ

การเลือกต้นแบบ


ต้นแบบ 45 องศาเหมาะสำหรับเริ่มเขียนใหม่ๆ   ตอนที่ผมหัดเขียนภาพเหมือนใหม่ๆ   ผมเองจะเป็นแบบที่ว่าเห็นรูปอะไร หรือใครอยู่ใกล้มือที่สุดก้อจะจับเขามาเป็นแบบและเขียนคนนั้น  พอเริ่มคล่อง ขึ้นมาหน่อยก้อพบว่า  การเลือกแบบมาเขียนนั้นมีความสำคัญ  เช่นกันกับการ พัฒนาการด้านการเขียนของเรา   เพราะหากว่า   แบบที่เลือกมาเขียนนั้น  ไม่มี ความเร้าใจในการเขียนของเราเลยความตั้งใจเต็มที่ก้อจะไม่เกิด  แต่หากว่าภาพ หรือแบบที่เลือกมาเขียน มีผลกระทบต่อเรามากๆ เช่น ชอบเขารักเขา    ชื่นชม  ศรัทรา  หรือติดตามเรื่องของเขา    เราก้อจะตั้งใจ เขียนให้ภาพออกมาดูดียิ่งขึ้น  ยกตัวอย่าง  เช่นการเขียนรูปคนสำคัญให้ในวันสำคัญอาจจะเป็นเพื่อนสนิท คนรู้ ใจ  พ่อ  แม่  ญาติ  ครู  อาจารย์   นายกรัฐมนตรีก้อจะทำให้เรา มุ่งมั่น กับงานเขียนชิ้นนั้นๆมากขึ้นผลงานก้อจะออกมาสมบูรณ์มากขึ้น  เพราะมี บันดาลใจใน การเขียนนั่นเอง     การเลือกแบบมาเขียนและจะรู้ได้โดยทันทีว่ารูปเขียนของ เราเหมือนต้นแบบหรือไม่นั้นในขั้นต้นขอแนะนำผู้อ่านว่าน่าจะเป็นรูปของตัว เอง   คนใกล้ตัวหรือคนใกล้ชิดจะดีที่สุด  จะทำให้เห็นข้อผิดพลาดได้ง่ายโดย ทันที   เพราะเป็นคนที่คุ้นเคยเราเป็นอย่างดี   และเห็นหน้าเป็น ประจำ    การเขียนภาพเหมือนมีหลายรูปแบบครับ  และมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียน ก้อมากมายชนิดแล้วแต่  จะเลือกใช้ชนิดไหน   อ่าในบทนี้จะแนะนำการเขียนภาพ เหมือนด้วยเส้นก่อนนะครับ  หรือเรียกว่าการวาดเส้นคนเหมือนนั่นแหล่ะครับมุม มองของแบบที่จะเลือกมาเขียน  แบบที่จะนำมาเขียนขอแนะนำ  มุม มอง45 องศา จะง่ายและเหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มฝึกเขียนใหม่ๆขอบอกครับส่วนแบบที่ยากที่สุด คือ  มุมมอง ที่เชิดหน้า หรือเงย ไม่เหมาะสำหรับในการฝึกเขียนเลยครับการจัดภาพ  การจัดภาพก็ไม่ได้ ยุ่งยากอะไรหรอกครับแต่อาจเป็นเรื่องของบุคคลด้วยซ้ำในที่ขอแนะนำแบบง่ายก่อนคือมุมมอง45 องศา

พื้นฐานการเขียนเส้น

ในการวาดเส้นเส้นเป็น สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากในการเขียนเพราะจะทำให้ ภาพที่เขียนออกมาดูแล้ว แข็งแกร่งแข็งแรงมั่นคงแน่นอนอ่อนหวาน  สงบ นิ่ง มีพลัง ได้นั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับเส้นเป็นองค์ประกอบหลักผู้เขียนสามารถใช้เส้นได้อย่างอิสละ ในแบบที่ต้องการ และเป็นตัวของตัวเองมากที่สุดและถนัดที่สุด เส้นที่ใช้ในการวาดเขียนนั้นมีมากมายเหลือเกินภาพเขียนลายเส้นส่วนใหญ่มีอารมณ์ มีความรู้สึกมีชีวิตชีวา ก้อขึ้นอยู่กับเส้นเส้นนั้นยังบ่งบอกถึงความเป็นมืออาชีพ และความชำนาญในการเขียนอีกด้วย เช่น ศิลปินที่มีความแม่นยำในการเขียนภาพนั้นสามารถเขียนภาพออกมาโดยใช้เส้นไม่กี่เส้น ก็สามารถเป็นภาพที่สมบูรณ์ได้และยังแสดงถึงทักษะที่เชี่ยวชาญอีกด้วยเส้นบางชนิดไม่เหมาะกับการเขียนภาพคนบางประเภท เช่น เส้นที่ขัดกันมากๆ ไม่ควรเขียนภาพเด็กและผู้หญิงเพราะจะทำให้ภาพดูแล้วแสดงถึงความหยาบ และแข็งกระด้างได้(การแนะนำในที่หมายถึงบุคคลที่เพิ่งเริ่มหัด)ยิ่งหากว่าช่องไฟหรือช่องว่างระหว่างเส้นนั้นมีความห่างกันมากเพียงใด ก้อจะทำให้ภาพกระด้างมากยิ่งขึ้นหากว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเขียนภาพเด็กและผู้หญิงจริงๆ  ขอแนะนำว่าควรใช้เส้นไปในทางทิศเดียวกัน จะทำให้ดูนิ่มและอ่อนหวานมากที่สุด  ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากอยากจะเขียนภาพผู้ชายให้มีความแข็งแรง แข็งแกร่งก็ควรใช้เส้นที่มีลักษณะขัดกัน จะทำให้ดูมีพลังมากยิ่งขึ้น แต่อย่าลืมว่าเส้นเป็นเพียงหนึ่งในองค์ประกอบเท่านั้นที่จะทำให้ภาพเขียนดูสมบูรณ์ไม่ว่ายังไงก็ตาม

องค์ประกอบทุกอย่าง   ทั้ง   เส้น   จุด   สี   น้ำหนัก  ระยะ   แสงเงา หรืพื้นผิวก็ต้องพึ่งพากัน   จึงจะทำให้ผลงานดูแล้วสมบูรณ์แบบ  เส้นก็มีอยู่หลายชนิดด้วยกันแล้วแต่ว่าใครถนัดเส้นแบบไหน  เส้นทแยง45องศา  เส้นสาน  การถู  เส้นขัดกัน   เส้นวงกลม   เส้นแนวนอน   เส้นตั้ง  เส้นไม่ต่อเนื่อง และเส้นโค้ง  ขอจบพื้นฐานของเส้นแค่นี้นะครับ  เดี่ยวเราก็จะอ่านบทความใหม่ต่อๆไปอีก  วิธีการวัดสัดส่วน

ฝึกเขียนภาพด้วยตัวเอง


การวาดภาพเหมือนมันไม่ใช่เรื่องยาก อะไรมากมายหรอกครับแต่มันก็ไม่ง่ายชะทีเดียวเหมือนกัน มันอยู่ที่ว่าใจรักหรือเปล่า  ถ้าชอบแล้วก็จะเกิดความพยายาม เอาเป็นว่าผมจะอธิบายแบบคร่าวๆแบบเน้นๆเลยแล้วกัน สิ่งแรกที่ต้องเตรียม คือตัวเราเองครับก่อนที่ผม

จะมาฝึกวาดภาพเหมือนนั้น  ผมจะสังเกตดูภาพของคนอื่นที่ เขาวาดกันดูทุกภาพเลยครับ   ไม่ว่าจะเป็นภาพขาวดำอย่างลายเส้น   และสีคาร์บอน ภาพสีก็อย่างสีน้ำ สีน้ำมันสีชอล์คเป็นต้นไม่ได้ดูภาพอย่างเดียวนะครับดูราคาของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้แต่ละภาพว่ามันราคาเท่าไหร่ และมันเหมาะสำหรับเราที่พึ่งหัดเขียนหรือเปล่าขอแนะนำเลยครับภาพขาวดำแบบลายเส้น และสีคาร์บอน เหมาะสำหรับเริ่มฝึกเขียนดีที่สุดครับในที่นี้จะเล่าเรื่องลายเส้นดินสอก่อน ส่วนสีคาร์บอนจะนำมาเล่าในบทความต่อไปแล้วกัน ภาพลายเส้นที่ผมฝึกเขียนผมใช้อุปกรณ์ทั้งหมดไม่ถึง 100 บาทครับก่อนอื่นเราต้อง ไปดูไปสังเกตช่างคนที่เขาเขียนภาพเป็นประจำก่อนครับ  คือผมเป็นคนที่ชอบอะไรแล้ว ก็จะทำให้ได้ทั้งที่รู้ว่าตนเองไม่เคยมีพื้นฐานมาก่อน  จำไว้เลยนะครับว่าพื้นฐานของการเรียนรู้ของผมก้อคือความอยากรู้อยากเห็น และความตั้งใจจริงครับในตอนแรกผมก็ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าต้อง ใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง ก็เรียนรู้จากคนอื่นที่เขามานั่งรับวาดภาพเหมือนตามตลาดนัดต่างๆ ที่เราเห็นกันอยู่บ่อยๆน่ะแหละแล้วจะมีคนมานั่งเป็นแบบ  ให้เขาเขียนผมก็เข้าไปสังเกต เขาไม่ห้ามหรอกครับแต่อย่าไปรบกวนเขาจะรำคาญเอานะตอนแรกยื่นดูเฉยๆก่อน เป็นไปได้ทำความรู้จักไว้ก็จะดีนะฮาฮา  เผื่อบางทีไม่เข้าใจ ตรงไหนก็จะกล้าถามเขาส่วนตัวผมเข้า ไปถามเลยครับบังเอิญเจอคนใจดีก็เลยได้ความรู้มาเยอะ 55 ในกรณีที่ไม่กล้าถามก็ใช้ความอดทนครับอดทนนั่งดูยื่นดูแล้วแต่ความถนัดกันเลย ครับยืนดูว่าเขาเริ่มร่างโครงภาพอย่างไร และใช้ดินสอแบบไหนร่างภาพดูเรื่อยๆ ทุกขั้นตอนสังเกตดูว่าอุปกรณ์ที่ใช้ทั้งหมดกับภาพนี้มีอะไรบ้าง ดูการแรเงาของเขาดูมือด้วยล่ะว่าเขาจับดินสอท่าไหนเพราะว่าการจับดินสอจะช่วยให้เราสามารถ ควบคุมน้ำหนักของแสงเงาได้ตามใจต้องการครับขอสรุปในเบื้องต้นก่อนเลยครับ ศึกษาภาพเขียน ศึกษาอุปกรณ์ที่ใช้ช่วงแรกสังเกตดูเขาเขียนก่อนแล้วค่อยๆฝึกทำตามต่อไปครับการร่างภาพเหมือนอย่างง่ายๆ

วิธีเขียนภาพเหมือน

วิธีเขียนภาพเหมือนในขั้นเริ่มต้น ควรที่จะฝึกเขียนภาพคนที่เราคุ้นเคยก่อนนะครับ ตัวอย่างที่เราคุ้นเคยอย่างเช่นเขียนภาพตัวเอง ภาพพ่อแม่พี่น้อง บุคคลที่อยู่ใกล้ชิดเรา เพื่อนหรือแฟนก็ได้ครับ หรือว่าพระเจ้าอยู่หัวและรูปนายกฯก็ดีเช่นกันนะครับ เพราะว่าบุคคลที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น ตัวเราจะคุ้นเคยเป็นอย่างดีกันทุกคนเลย ชึ่งจะทำให้เราจดจำรายละเอียดต่างๆบนใบหน้าเขาได้ แล้วจะช่วยให้เราฝึกเขียนภาพเหมือนได้ง่ายและดีขึ้นนั่นเอง และเราก็จะดูและแยกแยะความแตกต่าง ระหว่างต้นแบบกับภาพเขียนออกได้ง่ายว่าในจุดไหนบ้างที่เราเขียนผิดต่างไปจากต้นแบบ เราก็จะได้ทำการลบและแก้ไขใหม่ในทันที แต่ขอแนะนำในการแก้ไขนั้น ต้องระวัง มากๆเลยนะครับว่าอย่าใช้วิธีลบในส่วน ที่เป็นภาพลายเส้นจากดินสอแนะนำให้ทำการเขียนเส้นใหม่มาแทนเส้นเก่าได้เลยนะครับหรือเขียนซ้ำเส้นเดิม เพื่อแก้ไขไปเลยให้มันถูกต้อง โดยไม่ต้องลบเส้นเดิมแต่ ต้องทำให้มันดูกลมกลืนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะการทำเช่นนี้จะทำให้ลายเส้นของเราดูมีเสนห์ยิ่งขึ้น แต่ว่าถ้าเราใช้วิธีลบ แล้วเขียนใหม่มันจะทำให้เส้นที่เขียนขึ้นมาใหม่เข้มและดำกว่าเดิมมาก และก็มาลอยลบของยางลบด้วย ซึ่งเมื่อดูเปรียบเทียบกับวิธีที่เราเขียนซ้ำแล้ว วิธีเขียนซ้ำจะดูมีเสนห์และดูเป็นมืออาชีพมาก และก็เป็นธรรมชาติของลายเส้นอย่างยิ่งเลยครับ ทั้งนี้ภาพเขียนที่จะทำให้เหมือนมากที่สุดก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆอย่างด้วยกัน แต่ผมว่าสิ่งสำคัญประการแรกเลยก็คือโครงร่าง ถ้าร่างโครงร่างได้ถูกต้องมากเท่าใด ก็จะยิ่ง ทำให้ภาพออกมาดูเหมือนมากยิ่งขึ้น เพราะฉนั้นเราจึงควรใส่ใจกับโครงร่างให้มากๆ ในการร่างโครงนั้นเราควรจะใช้ดินสอที่มีความดำต่ำๆนะครับ อย่างเช่นดินสอ 2B 4B HB เป็นต้นครับ เพราะจะทำให้เส้นที่ร่างนั้นไม่เด่นชัดมากในกรณีที่เขียนผิด หรือหากว่ามีความจำเป็นที่จะต้องลบเพื่อเขียนใหม่ ก็จะได้ไม่เป็นรอยให้เห็นหรืออาจจะมีบ้างก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในการร่างโครงร่างนั้น ในเริ่มต้น บางคนอาจจะใช้วิธีตีตารางเอาเลยก็ได้นะครับ แล้วก็วัดขนาดเอามาเทียบกับกระดาษที่เราใช้เขียนถอดตารางออกมาทีละช่องทีละช่องดูเส้นแต่ละเส้น หรือว่ารายละเอียดต่างๆของต้นแบบ ว่าเส้นไหนอยู่ช่องไหนเส้นยาวไปถึงตรงไหน ถอดแบบตารางออกมาทุกตารางโดยละเอียด วิธีนี้ผมว่าสามารถร่างภาพได้กันทุกคนขอยืนยันครับ ทำบ่อยๆแบบเดิมจนเราดูว่าคล่องแล้วและโครงร่างของเราก็เหมือนแล้ว จากนั้นก็ลองๆร่างภาพในแบบที่ไม่มีตารางดูครับว่ าเราคล่องแล้วหรือยัง ก็เหมือนเดิมครับว่าร่างบ่อยๆแบบเดิมลองดูว่าตัวเราเองถนัดแบบไหนชอบแบบไหน จากนั้นก็ให้ยึดเอาในแบบที่ตนถนัดที่สุด แนะนำอิกอย่างครับว่าในช่วงที่เรากำลังลองผิดลองอยู่นั้น ให้เราใช้อุปกรณ์ชิ้นเดียวก่อนนะครับอย่างเช่นกระดาษ 1 แผ่นดินสอ 1แท่งและยางลบ 1 ก้อนไปก่อนเพราะว่าจะได้เป็นการประหยัดไปในตัว ในระหว่างที่เรากำลังลองผิดลองถูกกันอยู่นั่นเอง อย่าลืมนะครับว่าต้องลองเขียนบ่อยๆซ้ำๆ จะได้มีประสบการณ์ไปในตัวด้วยตัวเองครับ

ความหมายของการดรออิ้ง

วาดเส้น (Drawing) เป็นวิธีการสร้างภาพโดยวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว  เพื่อสื่อความหมายทางการเห็นขั้นเริ่มแรกของมนุษย์ด้วยปัจจัยขั้นพื้นฐาน คือ ร่องรอยต่าง ๆ และเครื่องมือง่าย ๆ ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น ถ่าน เศษไม้ หรือแม้แต่นิ้วมือของตนเอง  ซึ่งมนุษย์ต้องการแสดงออกในบางอย่างที่เป็นส่วนตนออกมาให้ปรากฏ  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเชื่อ ความนึกคิด อารมณ์ความรู้สึก หรือแม้แต่ร่องรอยง่าย ๆ ที่ทำขึ้นมาเอง


         วาดเส้นเป็นพื้นฐานของงานทัศนศิลป์และออกแบบ  เช่น  จิตรกรรม  ประติมากรรม  ภาพพิมพ์ สถาปัตยกรรม  ออกแบบตกแต่ง  ศิลปะไทย  ลายรดน้ำ  เป็นต้น ก่อนที่เราจะสร้างสรรค์งานศิลปะแขนงต่าง ๆ ดังที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น จำเป็นจะต้องมีความชำนาญทางการวาดเส้นให้แม่นยำเสียก่อน  เมื่อมีความชำนาญทางการวาดเส้นแล้วก็จะทำให้การทำงานศิลปะต่าง ๆ ง่ายขึ้น

เริ่มร่างภาพ

วิธีที่จะแนะนำต่อไปนี้ เป็นการแนะนำแบบคราวๆ เหมาะสำหรับคนที่มีพิ้นฐานมาบ้างแล้วเล็กน้อยนะครับส่วนคนที่ยังไม่มีพื้นฐานเลยก็อ่านได้ครับเพื่อความจรรโลงใจละกันครับ    

 1.การร่างภาพ    ก่อนการลงน้ำหนัก เราควรร่างภาพให้สมบูรณ์และถูกสัดส่วนเสียก่อน เพราะถ้าหากว่าภาพร่างของเราไม่สมบูรณ์หรือผิดเพี้ยนในชั้นแรก ก็จะไม่มีทางเลยที่ภาพของเราที่เขียนออกมาจะสมบูรณ์แบบและถูกสัดส่วน โดยในการร่างภาพนั้นควรจะร่างเบาๆไว้ก่อนนะครับกันผิดพราด ถึงแม้ว่าพราดก็จะลบและแก้ไขได้ง่ายนั่นเองดูตัวอย่างจากภาพข้างบนนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

การเก็บรายละเอียด

การเก็บรายละเอียด

การเก็บรายละเอียด เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการเขียนภาพคนเหมือน ไม่ว่าจะเป็นการเก็บรายละเอียด ขนตา ไรผม น้ำหนักต่างๆ เสื้อผ้า คิ้ว พื้นหลัง หากว่าใส่ใจในรายละเอียดมาดเท่าไหร่ ผลงานภาพเขียนก็จะดูมีเสน่ห์และคุณค่ายิ่งขึ้น

การแรเงาน้ำหนักกลาง

การแรเงาน้ำหนักกลาง

การแรเงาน้ำหนักกลาง จริงๆแล้วขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สอง หากว่ารูปที่เลือกมาเขียน เป็นรูปที่น้ำหนักไม่จัดมาก หลักจากร่างภาพได้สมบูรณ์แล้ว ก็แรเงาน้ำหนักโดยรวมๆให้เป็นกลาง น้ำหนักกลางที่ว่านี้คือน้ำหนักของลายเส้น ที่สามารถลบออกเพื่อทำแสงสท้อน หรือน้ำหนักสว่างที่สุดได้ และสามารถลงน้ำหนักเข้มสุดได้เช่นกัน ส่วนจุดที่เห็นว่าโดนแสงมากที่สุดหรือสว่างสุด ก็สามารถเว้นน้ำหนักขาวได้ทันทีที่ต้องลงน้ำหนัก การลงน้ำหนักกลางไว้ก่อนนี้ จะทำให้สะดวกมากยิ่งขึ้นในการแยกแสงและเงาออกจากกัน และทำให้ระยะเวลาในการเขียนภาพลดน้อยลงด้วย

การกำหนดทิศทางทรงผม

การกำหนดทิศทางทรงผม

การกำหนดทิศทางทรงผม  ขั้นตอนที่ผ่านมาดังกล่าวมาข้างต้น เป็นขั้นที่ว่าด้วยการเขียนใบหน้าของคน แต่มีอีกอย่างที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ในการเขียนใบหน้าคนเหมือน ก็คือการเขียนผมหรือทรงผมหากว่าขาดจุดนี้ไป ก็จะไม่ทำให้ภาพเหมือนที่เขียนเป็นภาพเขียนที่สมบูรณ์ได้ เว้นแต่แบบที่เลือกมาเขียนจะหัวล้าน ขั้นแรกในการเขียนผม ก็คือการกำหนดทิศทางของทรงผมไว้อย่างคร่าวๆก่อน ด้วยการลงนำ้หนักโดยการนอนดินสอ เพราะการนอนดินสอนั้นจะทำให้ผู้เขียนไม่เกรงมาก มีอิสระในการกำหนดทิศทาง และได้ปริมาณการลงน้ำหนักที่เยอะในการขีดหรือลาก ภายในครั้งเดียว

การแรเงาน้ำหนักผม

การแรเงาน้ำหนักผม

การแรเงาน้ำหนักผม  ขั้นตอนนี้ดูแล้วตล้ายกับว่าเป็นขั้นตอนสุดท้าย แต่แท้จริงแล้วยังมีการเก็บรายละเอียดอีกขั้นตอน ที่เป็นขั้นตอนสุท้ายจริงๆ หลังจากที่กำหนดทิศทางของทรงผมเรียบร้อยแล้ว จากนี้ไปก็เป็นการแรเงาน้ำหนักของผมตามทิศทางที่ได้กำหนดไว้แล้ว เพราะหากว่าไม่มีทิศทางของทรงผมที่ชัดเจน ทรงผมก็จะยุ่งเหยิง ตีกันมั่วไปหมด ไม่เป็นธรรมชาติ ขั้นตอนต้องสังเกตุให้ดีว่าจุไหนมีแสงเข้า ก็ควรจะลงน้ำหนักให้น้อยลง หรือเว้นขาวไปเลยก็ได้ จุดไหนอยู่ในมุมที่มืดสุดก็เราเงาความเข้มไดเต็มที่เลย  

การกำหนดแสงเงา

การกำหนดแสงเงา

กำหนดแสงเงา   ข้อ นี้สำหรับผู้ฝึกเขียนภาพเหมือนบางคน หรือ รูปต้นแบบบางรูปอาจไม่จำเป็นขั้นตอนในข้อนีเหมาะสำหรับ ภาพต้นแบบที่มีแสงจัดและเงาจัดๆ ดูว่าแสงเข้ามาทางไหน และเงาตกกระทบไปในทิศทางใด ก็ทำสัญลักษณ์ไว้ด้วยการลงน้ำหนักบางๆ ไว้เผื่อเวลาที่จะลงน้ำหนักจริงจะได้ไม่ตาลาย แต่หากรูปต้นแบบที่เลือกมาเขียนนั้นมาแสงและเงาไม่มากดูนุ่มๆและกลมกลืน ไม่ตัดกันชัดเจนมากนัก ก็สามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลยครับ

ค่าน้ำหนักของแสงและเงา

ค่าน้ำหนักของแสงและเงา
ขออธิบายเรื่องแสงและเงากันหน่อยนะครับพร้อมกับการดูจากภาพตัวอย่างที่ด้านบนครับ ผม แสงและเงา (Light & Shade)  เป็นองค์ประกอบสำคัญของศิลป์ที่อยู่คู่กัน เลยก็ว่าได้ครับ แสง เมื่อส่องกระทบ กับวัตถุ จะทำให้เกิดเงานะครับ แสงและเงาจะเป็นตัวกำหนดระดับของค่าน้ำหนัก  ความเข้มของเงาจะขึ้นอยู่ กับความเข้มของเแสงครับ ในที่ที่มีแสงสว่างมาก เงาก็จะเข้มขึ้นมาก
และในที่ที่มีแสงสว่างน้อย  เงาก็จะไม่ชัดเจน ในที่ที่ไม่มีแสงสว่าง ก็จะไม่มีเงา และเงาจะอยู่ในทางตรงข้ามกับแสงเสมอนะครับจำเอาไว้ ทั้งนี้ก็ให้ดูภาพตัวอย่างที่ด้านบนนะครับ เรื่องแสงและเงา ในบทหน้าต่อไปผมจะแนะนำวิธีที่ผมวาดภาพด้านบนว่าผมมีเทคนิคอะไรบ้าง ส่วนบทนี้เรามาดูรายละเอียด เรื่องแสงและเงากันก่อนครับผม
ค่าน้ำหนักของแสงและเงาที่เกิดบนวัตถุ สามารถจำแนกเป็นลักษณะต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. บริเวณแสงสว่างจัด (Hi-light) เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด จะมีความสว่างมากที่สุด ในวัตถุที่มีผิวมันวาวจะสะท้อนแหล่งกำเนิดแสงออกมาให้เห็นได้ชัด
2. บริเวณแสงสว่าง (Light) เป็นบริเวณที่ได้รับแสงสว่าง รองลงมาจากบริเวณแสงสว่าง จัด เนื่องจากอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงออกมา และเริ่มมีค่าน้ำหนักอ่อน ๆ
3. บริเวณเงา (Shade) เป็นบริเวณที่ไม่ได้รับแสงสว่าง หรือเป็นบริเวณที่ถูกบดบังจาก แสงสว่าง ซึ่งจะมีค่าน้ำหนักเข้มมากขึ้นกว่าบริเวณแสงสว่าง
4. บริเวณเงาเข้มจัด (Hi-Shade) เป็นบริเวณที่อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด หรือ เป็นบริเวณที่ถูกบดบังมาก ๆ หลาย ๆ ชั้น จะมีค่าน้ำหนักที่เข้มมากไปจนถึงเข้มที่สุด
5. บริเวณเงาตกทอด เป็นบริเวณของพื้นหลังที่เงาของวัตถุทาบลงไป เป็นบริเวณเงาที่อยู่ ภายนอกวัตถุ และจะมีความเข้มของค่าน้ำหนักขึ้นอยู่กับ ความเข้มของเงา น้ำหนักของพื้น หลัง ทิศทางและระยะของเงา

ความสำคัญของค่าน้ำหนัก
1. ให้ความแตกต่างระหว่างรูปและพื้น หรือรูปทรงกับที่ว่าง
2. ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว
3. ให้ความรู้สึกเป็น 2 มิติ แก่รูปร่าง และความเป็น 3 มิติแก่รูปทรง
4. ทำให้เกิดระยะความตื้น - ลึก และระยะไกล้ - ไกลของภาพ
5. ทำให้เกิดความกลมกลืนประสานกันของภาพ
วิธีที่จะฝึกเขียนภาพเหมือนด้วยตัวเองนั้นจำเป็นอย่างยิ่งเลยนะครับสำหรับบทความนี้ ขอให้อ่านและทบทวนลองทำการเขียนบ่อยๆนะครับเพื่อความเคยชิน แบบฝึกหัดก็แบบง่ายๆเลยครับ ให้เราทำการทำตารางสีเหลี่ยมขึ้นมาซัก 9 ช่องโดยกำหนดขนาดความกว้างและความยาวเอาเองนะครับ หรือเอาแบบนี้ก็ได้ แต่ละช่องให้ยาวสัก 2 นิ้ว กว้างสัก 1 นิ้วแล้วก็ทำการแรเงาโดยช่องที่หนึ่งให้สีเข้มที่สุดแล้วก็ ค่อยๆให้สีจางลงมาเรื่อยๆโดยทั้ง 9 ช่องต้องสีไม่ซ้ำกันนะครับดูตัวอย่างจากภาพประกอบ ด้านขวามือ คือให้ฝึกแร
เงาตามลำดับสีจากน้ำหนักมากไล่ลงมาน้ำหนักน้อยเรื่อย ๆจนได้ครบทั้ง 9 หรืออาจมากกว่านั้นก็ได้ครับฝึกแบบฝึกหัดนี้บ่อย ๆ นะครับ เพื่อตัวคนฝึกเอง นะละครับ มันจะทำให้เราสามารถ แรเงา และควบคุมน้ำหนักมือได้ดีเยี่ยมเลยลองๆฝึกดูครับ

การวาดเส้นภาพคน

การวาดเส้นภาพคน

การเขียนภาพคนหรือมนุษย์ ผู้ที่จะวาดภาพต้องศึกษาในเรื่องของสัดส่วน และโครงสร้างของร่างกายมนุษย์เสียก่อนเพื่อเป็นแนวทางซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่ถูกต้อง เพราะถ้าไม้ถูกต้อง หรือผิดสัดส่วน ก็จะมองหรือรู้ได้ทันทีเพราะเป็นสิ่งใกล้ตัวอยู่แล้ว การเขียนภาพคนมีสิ่งต้องคิดคำนึง อยู่มาก เพราะมีทั้งเพศหญิง เพศชาย และมีอิริยาบถต่าง ๆ เช่น นั่งนอน เดิน ยืนฯลฯ ซึ่งในแต่ละ ท่าทางของการเคลื่อนไหวจะให้ความรู้สึก และสวยงามเหมาะสมต่างกัน

สัดส่วนและโครงสร้างของมนุษย์
      การศึกษาหลักเกณฑ์สัดส่วนเบื้องต้น มีความจำเป็นในการวาดเส้นภาพคน และมีความสำคัญอ้างอิงในงานออกแบบด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะที่มุ่งประโยชน์ทางด้านการใช้สอย เพื่อกำหนดขนาดต่าง ๆ ให้เหมาะกับการใช้และอำนวยความสะดวก ในการหาระยะสัดส่วนที่เป็นมาตรฐาน จะสรุปโดยเอาค่าเฉลี่ยของคนโดยทั่วไปซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง ให้เป็นตัวแทนของคนทั้งหมด (HUMANSCALE)
      การรู้สัดส่วนช่วยให้
      1. ช่วยในการวาดภาพคนได้สัดส่วนที่ถูกต้องมีความสวยงาม หรือสร้างสรรค์ได้ตาม จุดประสงค์
      2. เป็นข้อมูลในการออกแบบผลงานต่าง ๆ เพื่อการใช้สอยที่สะดวกสบาย เพื่อความ สวยงามและ แนวความคิดสร้างสรรค์
      3. ช่วยในการสร้างเสริม ปรับปรุง หรือพัฒนาบุคลิกของบุคคล
การกำหนดสัดส่วนของมนุษย์จะถือเอากะโหลกศีรษะมาจรดปลายคางถือเป็น 1 ส่วนเต็ม ร่างกายที่ดูดีได้สัดส่วนของคนเราจะอยู่ 7 ส่วนครึ่ง แต่ก็ยังมีสัดส่วนที่สวยงามกว่าปกติขึ้นไปอีก โดยมีการจัดสัดส่วนของมนุษย์ ได้เป็น 4 ระดับ คือ
      1. สัดส่วนทั่วไป (NORMAL) 7 ครึ่ง ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ดูดีอยู่แล้ว
      2. แบบอุดมคติ (DIALISTIC) เท่ากับ 8 ส่วน มีรูปร่างสวยงามขึ้น
      3. ต้นแบบ (FASHION) เท่ากับ 8 1/2 มีรูปร่างสวยงามสง่า ใช้เป็นแบบอย่าง หรือ เดินแบบ
      4. เรือนร่างเทพนิยาย (HERDIC) เท่ากับ 9 ส่วน มีรูปร่างสวยงามสง่า เกินความ   เป็นจริง

โครงสร้างของคน อย่างง่าย และลักษณะพื้นฐานจะเห็นว่าใช้เส้นในการวาดเพียง 5 เส้นเท่านั้น เส้นแรกแนวตั้ง เป็นลำตัว เส้นที่ 2-3 ก็จะเป็นส่วนขา และ 4-5 ก็จะเป็นแขน ถ้าจะแสดงเพศหญิง หรือชาย ก็เติมเป็นส่วนหัว หรือ ทรงผม
ดังนั้นในการฝึกวาดในระยะแรก จะเป็นโครงสร้างที่เป็นเส้นตรงในแต่ละส่วนอย่างง่าย เพียง  เส้น  คือ  เส้นตรงของลำตัว เส้นตรงของขาซ้าย  ขาขวา  เส้นตรงแขนซ้าย  และแขนขวา

ดังนั้นในการฝึกวาดในระยะแรก จะเป็นโครงสร้างที่เป็นเส้นตรงในแต่ละส่วนอย่างง่าย เพียง  เส้น  คือ  เส้นตรงของลำตัว เส้นตรงของขาซ้าย  ขาขวา  เส้นตรงแขนซ้าย  และแขนขวา
การวาดโครงสร้างที่ใช้เพียง 5 เส้น จะเป็นขั้นเริ่มต้น ภาพที่ได้อาจจะให้ความรู้สึกแข็งทื่อตามสภาพของเส้นตรงและจำกัดจำนวนของเส้น แต่ถ้าฝึกไปสักระยะหนึ่งแล้วเพิ่มรายละเอียดขึ้น ในส่วนส่วนแขนและขา จากเส้นตรงก็จะเริ่มหักเส้น ในส่วนของลำแขนทั้งซ้าย-ขวา ช่วงข้อศอก และ ในส่วนของลำขาทั้งซ้าย-ขวา ช่วงหัวเข่า  ซึ่งทำให้เกิดโครงสร้างที่มีท่าทางขึ้น การงอของ ข้อศอก และ หัวเข่า จะต้องไปในทิศทางที่เป็นไปได้ของการขยับ และ การงอของมนุษย์  ภาพหรือท่าทางต่างๆ ก็จะเป็นไปตามธรรมชาติ และ มีความสวยงามตามอิริยาบถนั้น ๆ

การแต่งเติมความหนาของเส้นในบางส่วนจะเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ภาพมีมิติขึ้น มีความสวยงามขึ้น แต่ต้องเลือกในส่วนที่เป็นไปได้ใกล้เคียงกับ สัดส่วนของมนุษย์ เช่น ในส่วนของลำตัว กล้ามเนื้อของน่อง เท้า มือ เป็นต้น
การวาดเส้นโครงสร้างของคนที่มีความกว้างของร่างกาย โดยเพิ่มเส้นตรงอีก 2 เป็น 7 เส้น  คือ ส่วนเส้นตรง ที่เป็นช่วงไหล่ และ ตะโพก

เมื่อวาดได้ภาพที่เป็นโครงสร้างคนในลักษณะเส้น การตกแต่ง เพิ่มเติม ในส่วนของ ศีรษะ มือ เท้า ก็สามารถทำต่อได้รวมทั้งการใส่เรื่องราว กิจกรรมต่างๆ ให้กับรูปร่างนั้นๆ

การเขียนรูปใบหน้าหลักเบื้องต้น คนเราจะมีความสมดุลแบบซ้ายขวา คือ ทั้งซ้ายกับขวาจะมีขนาดลักษณะเหมือนกัน ดังนั้นการร่างภาพร่างเส้นเบาก่อนจะเป็นส่วนซ้ายให้การวาดรูป ใบหน้าได้สัดส่วนและเหมือน โดยมีเส้นแบ่งกลาง แบ่งเส้นระดับตำแหน่ง ตา จมูก ปาก ส่วนที่จะต้องได้มีลักษณะขนาดเท่ากันมากก็เป็นส่วนของดวงตากับหูในกรณีภาพหันหน้าตรง การวาดจากร่างเบา แล้วลงเส้นหนักจริง อาจเป็นการฝึกในระยะแรก เมื่อมีความแม่นยำก็อาจไม่ต้องร่างก็ได้

การฝึกอาจเริ่มจากภาพนั่งปกติ ด้านข้าง ด้านหน้าหน้าตรง แล้วค่อยเอียงหน้าก้ม และอาจใส่ลีลาอารมณ์ต่าง ๆ ต่อมาเมื่อมีความชำนาญขึ้น การจะเขียนวาดให้มีมุมมองต่าง ๆ อย่างไร ก็ตาม การยึด คือ เส้นดิ่งกลางหน้าและระดับตา จมูก ปาก เป็นเส้นร่างหลักที่จะเป็นสัดส่วนกำหนดให้เป็นอย่างดี

การวาดภาพคนทั้งตัว โดยนำส่วนของลำตัวจากโครงเส้น พร้อมกับกำหนดท่าทาง แล้วเพิ่มความหนาของลำตัว ส่วนของใบหน้า ก็เริ่มจากโครงสร้างของวงกลม แบ่งส่วน ตา จมูก ปาก และรายระเอียดของเครื่องแต่งกาย การฝึกเขียนภาพคนทั้งตัว โดยเฉพาะที่แสดงท่าทางต่างๆ สิ่งที่ควรระวัง คือเรื่องของ สัดส่วน จะต้องได้ภาพที่ดูเป็นลักษณะของคนปกติ สมบูรณ์ เพราะภาพคนเป็นสิ่งใกล้ตัว จึงง่ายแก่การตรวจสอบ ถ้ามีการผิดเพี้ยน

ภาพวาดเส้นภาพคนจะฝึกจากโครงเส้นอย่างง่าย และ มามีสัดส่วน คือ ส่วนหนาของลำตัว ลำแขน-ขาตามลำดับหรืออาจจะพูดในอีกแง่หนึ่งว่าจากโครงกระดูกก็มาใส่เนื้อหนัง หรือเสื้อผ้าให้ เมื่อได้ภาพที่สมบูรณ์ ก็จะเป็นขั้นตอนที่วาดภาพของคนที่ร่วมกลุ่ม จัดเป็นองค์ประกอบของภาพ เพื่อการออกแบบ หรือ เพื่อการโฆษณา ภาพวาดเส้นลักษณ์นี้ ต้องให้ความรู้สึกขององค์ประกอบรวม มีการซ้อน หรือบังภาพคน เพื่อให้ลีลาท่าทางที่น่าสนใจ ชวนมองนอกเหนือจากความถูกต้อง สวยงามของโครงร่าง ซึ่งอาจเป็นการนำท่าทางหลายลักษณะมารวมกัน

ภาพคนตามความจริงเป็นส่วนที่ใกล้ตัวที่สุด แต่ก็ไม่ง่ายที่จะวาดได้ดี และสมบรูณ์ที่สุด เพราะมีหลายรูปแบบ เช่น เด็กวัยรุ่น ผู้หญิง ผู้ชาย คนพิการ คนแก่ และทั้งหมดนี้ยังแสดงอิริยาบถต่างๆ อีกด้วย นับตั้งแต่ นอน นั่ง เดินกระโดด วิ่ง คลาน ซึ่งมีรูปแบบที่ต้องสอบได้ว่าถ่ายทอดได้ถูกต้องหรือเปล่า ที่กล่าวมานั้นยังไม่ได้รวมที่จะต้องวาดแล้วแสดงออกให้เห็นถึงอารมณ์ต่าง ๆ ได้อีก เช่น มีท่าทางโศกเศร้า ดีใจ หัวเราะ ร้องไห้ ร่าเริง ฉงน ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตามการถ่ายทอกภาพคน ก็จะเลือกวาดตามที่จะนำไปใช้งานตามจุดประสงค์นั้น ๆ

ในการวาดภาพคนโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
1. ภาพคนครึ่งท่อน (Portrait) เป็นการแสดงรายละเอียด ที่ต้องการความเหมือน มีความถูกต้อง ครบถ้วนโดยเฉพาะ แสงเงา ส่วนใหญ่จะเป็นภาพหุ่นนิ่งไม่มีอาการเคลื่อนไหว

1.    2. ภาพเต็มตัว (Figure) เป็นภาพที่วาดให้เห็นความครบถ้วนสมบูรณ์ สัดส่วนถูกต้อง และ มีการจัดท่าทางทีสง่างามในภาพเต็มตัวที่มีทั้งหุ่นนิ่งและเคลื่อนไหว

การวาดเส้นภาพคนประกอบในงานออกแบบทางสถาปัตยกรรม และงานตกแต่งภายใน จะไม่เน้นรายละเอียดของใบหน้า หรือ กล้ามเนื้อมากนักซึ่งพอจะสรุปลักษณะได้ดังนี้
1. ลักษณะของเส้นเรียบง่ายไม่ซับซ้อน
2. เน้นสัดส่วนถูกต้องและสามารถเปรียบเทียบกับสัดส่วนสิ่งที่อยู่รอบตัวได้
3. ไม่เน้นรายละเอียดของใบหน้ามากนัก วาดแต่เค้าโครง แสดงเพศ และวัย
4. ลักษณะท่าทางจะวาดให้มีความเคลื่อนไหวหรือมีอิริยาบถที่เข้าใจได้
5. มักจะเป็นภาพเห็นทั้งตัวและแต่งตัวบอกบุคลิกเด่นชัด
6. สัดส่วนที่ใช้เขียนจะมีความสวยสง่า หรือใช้สัดส่วนแปด แปดครึ่ง ถึงเก้า
รูปแบบภาพคนประกอบในงานออกแบบ
รูปแบบภาพคนประกอบในงานออกแบบทางสถาปัตยกรรม และงานตกแต่งภายใน ดังนี้

การวาดภาพคนที่เป็นส่วนประกอบงานออกแบบด้านสถาปัตยกรรม และตกแต่งภายใน อาจจะไม่ต้องวาดรายละเอียดมากนัก แต่ต้องวาดให้ได้เค้าโครงของ ผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก และท่าทาง อิริยาบถต่างๆได้ เช่นกำลังเดิน นั่ง ในบางภาพอาจจะมีการวาดตกแต่งเครื่องใช้ทั่วไปที่เข้าใจง่ายประกอบโดยมีความสอดคล้องกับงานออกแบบนั้น ๆ ด้วย เช่น กระเป๋า กล้องถ่ายรูป ซึ่งจะทำให้ภาพสมบูรณ์ สวยงาม
สรุป
การเขียนภาพคนต้องเริ่มจากโครงสร้างที่เป็นเส้นอย่างง่าย โดยศึกษาและสังเกตจากสัดส่วนของคนเราที่เป็นสิ่งอยู่ใกล้ตัวอยู่แล้ว จากโครงสร้างที่เป็นเส้นก็จะค่อยเพิ่มส่วนต่าง ๆ ทีทำให้เกิดมิติของร่างกาย เช่น ความกว้าง ลำตัว ลำแขน ขา รายละเอียดที่จะเพิ่มเติมส่วนที่สำคัญ ได้แก่ การเขียนรูปใบหน้า ซึ่งทั้งหญิงและชายก็จะใช้รูปวงกลมเป็นหลักในการร่างภาพ แต่ลักษณะของภาพคนแม้นจะเป็นสิ่งใกล้ตัว แต่ก็มีความยากง่าย ถ้าจะถ่ายทอดให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะคนเรามีทั้งเด็กทารก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ คนชรา คนพิการ และยังแสดงกิจกรรมต่างๆ เล่นดนตรี กีฬา ตลอดจนแสดงออกทางอารมณ์ เช่น โกรธ ร่าเริง เศร้า อาย ฉงน ปวดเร้า ซาบซึ้ง ฯลฯ นอกจากจะฝึกในทางด้านทักษะฝีมือแล้วการฝึกสังเกตกริยาท่าทางของคนทั่วไป เป็นแนวทางในการวาดภาพได้สมบรูณ์ ในการเขียนภาพบางครั้งก็ไม่ได้เน้นรายละเอียดทั้งหมด จะวาดให้ถูกต้องทางด้านสัดส่วนเพื่อใช้เพียงภาพประกอบให้ดูดี เช่น ในงานทัศนียภาพตกแต่งภายในหรือทางสถาปัตยกรรม