ค่าน้ำหนักของแสงและเงา
ขออธิบายเรื่องแสงและเงากันหน่อยนะครับพร้อมกับการดูจากภาพตัวอย่างที่ด้านบนครับ
ผม แสงและเงา (Light & Shade) เป็นองค์ประกอบสำคัญของศิลป์ที่อยู่คู่กัน
เลยก็ว่าได้ครับ แสง เมื่อส่องกระทบ กับวัตถุ จะทำให้เกิดเงานะครับ
แสงและเงาจะเป็นตัวกำหนดระดับของค่าน้ำหนัก
ความเข้มของเงาจะขึ้นอยู่ กับความเข้มของเแสงครับ ในที่ที่มีแสงสว่างมาก
เงาก็จะเข้มขึ้นมาก
และในที่ที่มีแสงสว่างน้อย
เงาก็จะไม่ชัดเจน ในที่ที่ไม่มีแสงสว่าง ก็จะไม่มีเงา
และเงาจะอยู่ในทางตรงข้ามกับแสงเสมอนะครับจำเอาไว้
ทั้งนี้ก็ให้ดูภาพตัวอย่างที่ด้านบนนะครับ เรื่องแสงและเงา
ในบทหน้าต่อไปผมจะแนะนำวิธีที่ผมวาดภาพด้านบนว่าผมมีเทคนิคอะไรบ้าง
ส่วนบทนี้เรามาดูรายละเอียด เรื่องแสงและเงากันก่อนครับผม
ค่าน้ำหนักของแสงและเงาที่เกิดบนวัตถุ สามารถจำแนกเป็นลักษณะต่าง ๆ
ได้ดังนี้
1. บริเวณแสงสว่างจัด
(Hi-light) เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด
จะมีความสว่างมากที่สุด
ในวัตถุที่มีผิวมันวาวจะสะท้อนแหล่งกำเนิดแสงออกมาให้เห็นได้ชัด
2. บริเวณแสงสว่าง
(Light) เป็นบริเวณที่ได้รับแสงสว่าง
รองลงมาจากบริเวณแสงสว่าง จัด เนื่องจากอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงออกมา
และเริ่มมีค่าน้ำหนักอ่อน ๆ
3. บริเวณเงา (Shade) เป็นบริเวณที่ไม่ได้รับแสงสว่าง
หรือเป็นบริเวณที่ถูกบดบังจาก แสงสว่าง
ซึ่งจะมีค่าน้ำหนักเข้มมากขึ้นกว่าบริเวณแสงสว่าง
4. บริเวณเงาเข้มจัด
(Hi-Shade) เป็นบริเวณที่อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด
หรือ เป็นบริเวณที่ถูกบดบังมาก ๆ หลาย ๆ ชั้น
จะมีค่าน้ำหนักที่เข้มมากไปจนถึงเข้มที่สุด
5. บริเวณเงาตกทอด
เป็นบริเวณของพื้นหลังที่เงาของวัตถุทาบลงไป เป็นบริเวณเงาที่อยู่ ภายนอกวัตถุ
และจะมีความเข้มของค่าน้ำหนักขึ้นอยู่กับ ความเข้มของเงา น้ำหนักของพื้น หลัง
ทิศทางและระยะของเงา
ความสำคัญของค่าน้ำหนัก
1. ให้ความแตกต่างระหว่างรูปและพื้น
หรือรูปทรงกับที่ว่าง
2. ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว
3. ให้ความรู้สึกเป็น
2 มิติ แก่รูปร่าง และความเป็น 3 มิติแก่รูปทรง
4. ทำให้เกิดระยะความตื้น
- ลึก และระยะไกล้ - ไกลของภาพ
5. ทำให้เกิดความกลมกลืนประสานกันของภาพ
วิธีที่จะฝึกเขียนภาพเหมือนด้วยตัวเองนั้นจำเป็นอย่างยิ่งเลยนะครับสำหรับบทความนี้
ขอให้อ่านและทบทวนลองทำการเขียนบ่อยๆนะครับเพื่อความเคยชิน แบบฝึกหัดก็แบบง่ายๆเลยครับ
ให้เราทำการทำตารางสีเหลี่ยมขึ้นมาซัก 9
ช่องโดยกำหนดขนาดความกว้างและความยาวเอาเองนะครับ หรือเอาแบบนี้ก็ได้
แต่ละช่องให้ยาวสัก 2 นิ้ว กว้างสัก
1
นิ้วแล้วก็ทำการแรเงาโดยช่องที่หนึ่งให้สีเข้มที่สุดแล้วก็
ค่อยๆให้สีจางลงมาเรื่อยๆโดยทั้ง 9 ช่องต้องสีไม่ซ้ำกันนะครับดูตัวอย่างจากภาพประกอบ
ด้านขวามือ คือให้ฝึกแร
เงาตามลำดับสีจากน้ำหนักมากไล่ลงมาน้ำหนักน้อยเรื่อย ๆจนได้ครบทั้ง 9 หรืออาจมากกว่านั้นก็ได้ครับฝึกแบบฝึกหัดนี้บ่อย
ๆ นะครับ เพื่อตัวคนฝึกเอง นะละครับ มันจะทำให้เราสามารถ แรเงา และควบคุมน้ำหนักมือได้ดีเยี่ยมเลยลองๆฝึกดูครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น