หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

การเก็บรายละเอียด

การเก็บรายละเอียด

การเก็บรายละเอียด เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการเขียนภาพคนเหมือน ไม่ว่าจะเป็นการเก็บรายละเอียด ขนตา ไรผม น้ำหนักต่างๆ เสื้อผ้า คิ้ว พื้นหลัง หากว่าใส่ใจในรายละเอียดมาดเท่าไหร่ ผลงานภาพเขียนก็จะดูมีเสน่ห์และคุณค่ายิ่งขึ้น

การแรเงาน้ำหนักกลาง

การแรเงาน้ำหนักกลาง

การแรเงาน้ำหนักกลาง จริงๆแล้วขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สอง หากว่ารูปที่เลือกมาเขียน เป็นรูปที่น้ำหนักไม่จัดมาก หลักจากร่างภาพได้สมบูรณ์แล้ว ก็แรเงาน้ำหนักโดยรวมๆให้เป็นกลาง น้ำหนักกลางที่ว่านี้คือน้ำหนักของลายเส้น ที่สามารถลบออกเพื่อทำแสงสท้อน หรือน้ำหนักสว่างที่สุดได้ และสามารถลงน้ำหนักเข้มสุดได้เช่นกัน ส่วนจุดที่เห็นว่าโดนแสงมากที่สุดหรือสว่างสุด ก็สามารถเว้นน้ำหนักขาวได้ทันทีที่ต้องลงน้ำหนัก การลงน้ำหนักกลางไว้ก่อนนี้ จะทำให้สะดวกมากยิ่งขึ้นในการแยกแสงและเงาออกจากกัน และทำให้ระยะเวลาในการเขียนภาพลดน้อยลงด้วย

การกำหนดทิศทางทรงผม

การกำหนดทิศทางทรงผม

การกำหนดทิศทางทรงผม  ขั้นตอนที่ผ่านมาดังกล่าวมาข้างต้น เป็นขั้นที่ว่าด้วยการเขียนใบหน้าของคน แต่มีอีกอย่างที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ในการเขียนใบหน้าคนเหมือน ก็คือการเขียนผมหรือทรงผมหากว่าขาดจุดนี้ไป ก็จะไม่ทำให้ภาพเหมือนที่เขียนเป็นภาพเขียนที่สมบูรณ์ได้ เว้นแต่แบบที่เลือกมาเขียนจะหัวล้าน ขั้นแรกในการเขียนผม ก็คือการกำหนดทิศทางของทรงผมไว้อย่างคร่าวๆก่อน ด้วยการลงนำ้หนักโดยการนอนดินสอ เพราะการนอนดินสอนั้นจะทำให้ผู้เขียนไม่เกรงมาก มีอิสระในการกำหนดทิศทาง และได้ปริมาณการลงน้ำหนักที่เยอะในการขีดหรือลาก ภายในครั้งเดียว

การแรเงาน้ำหนักผม

การแรเงาน้ำหนักผม

การแรเงาน้ำหนักผม  ขั้นตอนนี้ดูแล้วตล้ายกับว่าเป็นขั้นตอนสุดท้าย แต่แท้จริงแล้วยังมีการเก็บรายละเอียดอีกขั้นตอน ที่เป็นขั้นตอนสุท้ายจริงๆ หลังจากที่กำหนดทิศทางของทรงผมเรียบร้อยแล้ว จากนี้ไปก็เป็นการแรเงาน้ำหนักของผมตามทิศทางที่ได้กำหนดไว้แล้ว เพราะหากว่าไม่มีทิศทางของทรงผมที่ชัดเจน ทรงผมก็จะยุ่งเหยิง ตีกันมั่วไปหมด ไม่เป็นธรรมชาติ ขั้นตอนต้องสังเกตุให้ดีว่าจุไหนมีแสงเข้า ก็ควรจะลงน้ำหนักให้น้อยลง หรือเว้นขาวไปเลยก็ได้ จุดไหนอยู่ในมุมที่มืดสุดก็เราเงาความเข้มไดเต็มที่เลย  

การกำหนดแสงเงา

การกำหนดแสงเงา

กำหนดแสงเงา   ข้อ นี้สำหรับผู้ฝึกเขียนภาพเหมือนบางคน หรือ รูปต้นแบบบางรูปอาจไม่จำเป็นขั้นตอนในข้อนีเหมาะสำหรับ ภาพต้นแบบที่มีแสงจัดและเงาจัดๆ ดูว่าแสงเข้ามาทางไหน และเงาตกกระทบไปในทิศทางใด ก็ทำสัญลักษณ์ไว้ด้วยการลงน้ำหนักบางๆ ไว้เผื่อเวลาที่จะลงน้ำหนักจริงจะได้ไม่ตาลาย แต่หากรูปต้นแบบที่เลือกมาเขียนนั้นมาแสงและเงาไม่มากดูนุ่มๆและกลมกลืน ไม่ตัดกันชัดเจนมากนัก ก็สามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลยครับ

ค่าน้ำหนักของแสงและเงา

ค่าน้ำหนักของแสงและเงา
ขออธิบายเรื่องแสงและเงากันหน่อยนะครับพร้อมกับการดูจากภาพตัวอย่างที่ด้านบนครับ ผม แสงและเงา (Light & Shade)  เป็นองค์ประกอบสำคัญของศิลป์ที่อยู่คู่กัน เลยก็ว่าได้ครับ แสง เมื่อส่องกระทบ กับวัตถุ จะทำให้เกิดเงานะครับ แสงและเงาจะเป็นตัวกำหนดระดับของค่าน้ำหนัก  ความเข้มของเงาจะขึ้นอยู่ กับความเข้มของเแสงครับ ในที่ที่มีแสงสว่างมาก เงาก็จะเข้มขึ้นมาก
และในที่ที่มีแสงสว่างน้อย  เงาก็จะไม่ชัดเจน ในที่ที่ไม่มีแสงสว่าง ก็จะไม่มีเงา และเงาจะอยู่ในทางตรงข้ามกับแสงเสมอนะครับจำเอาไว้ ทั้งนี้ก็ให้ดูภาพตัวอย่างที่ด้านบนนะครับ เรื่องแสงและเงา ในบทหน้าต่อไปผมจะแนะนำวิธีที่ผมวาดภาพด้านบนว่าผมมีเทคนิคอะไรบ้าง ส่วนบทนี้เรามาดูรายละเอียด เรื่องแสงและเงากันก่อนครับผม
ค่าน้ำหนักของแสงและเงาที่เกิดบนวัตถุ สามารถจำแนกเป็นลักษณะต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. บริเวณแสงสว่างจัด (Hi-light) เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด จะมีความสว่างมากที่สุด ในวัตถุที่มีผิวมันวาวจะสะท้อนแหล่งกำเนิดแสงออกมาให้เห็นได้ชัด
2. บริเวณแสงสว่าง (Light) เป็นบริเวณที่ได้รับแสงสว่าง รองลงมาจากบริเวณแสงสว่าง จัด เนื่องจากอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงออกมา และเริ่มมีค่าน้ำหนักอ่อน ๆ
3. บริเวณเงา (Shade) เป็นบริเวณที่ไม่ได้รับแสงสว่าง หรือเป็นบริเวณที่ถูกบดบังจาก แสงสว่าง ซึ่งจะมีค่าน้ำหนักเข้มมากขึ้นกว่าบริเวณแสงสว่าง
4. บริเวณเงาเข้มจัด (Hi-Shade) เป็นบริเวณที่อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด หรือ เป็นบริเวณที่ถูกบดบังมาก ๆ หลาย ๆ ชั้น จะมีค่าน้ำหนักที่เข้มมากไปจนถึงเข้มที่สุด
5. บริเวณเงาตกทอด เป็นบริเวณของพื้นหลังที่เงาของวัตถุทาบลงไป เป็นบริเวณเงาที่อยู่ ภายนอกวัตถุ และจะมีความเข้มของค่าน้ำหนักขึ้นอยู่กับ ความเข้มของเงา น้ำหนักของพื้น หลัง ทิศทางและระยะของเงา

ความสำคัญของค่าน้ำหนัก
1. ให้ความแตกต่างระหว่างรูปและพื้น หรือรูปทรงกับที่ว่าง
2. ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว
3. ให้ความรู้สึกเป็น 2 มิติ แก่รูปร่าง และความเป็น 3 มิติแก่รูปทรง
4. ทำให้เกิดระยะความตื้น - ลึก และระยะไกล้ - ไกลของภาพ
5. ทำให้เกิดความกลมกลืนประสานกันของภาพ
วิธีที่จะฝึกเขียนภาพเหมือนด้วยตัวเองนั้นจำเป็นอย่างยิ่งเลยนะครับสำหรับบทความนี้ ขอให้อ่านและทบทวนลองทำการเขียนบ่อยๆนะครับเพื่อความเคยชิน แบบฝึกหัดก็แบบง่ายๆเลยครับ ให้เราทำการทำตารางสีเหลี่ยมขึ้นมาซัก 9 ช่องโดยกำหนดขนาดความกว้างและความยาวเอาเองนะครับ หรือเอาแบบนี้ก็ได้ แต่ละช่องให้ยาวสัก 2 นิ้ว กว้างสัก 1 นิ้วแล้วก็ทำการแรเงาโดยช่องที่หนึ่งให้สีเข้มที่สุดแล้วก็ ค่อยๆให้สีจางลงมาเรื่อยๆโดยทั้ง 9 ช่องต้องสีไม่ซ้ำกันนะครับดูตัวอย่างจากภาพประกอบ ด้านขวามือ คือให้ฝึกแร
เงาตามลำดับสีจากน้ำหนักมากไล่ลงมาน้ำหนักน้อยเรื่อย ๆจนได้ครบทั้ง 9 หรืออาจมากกว่านั้นก็ได้ครับฝึกแบบฝึกหัดนี้บ่อย ๆ นะครับ เพื่อตัวคนฝึกเอง นะละครับ มันจะทำให้เราสามารถ แรเงา และควบคุมน้ำหนักมือได้ดีเยี่ยมเลยลองๆฝึกดูครับ

การวาดเส้นภาพคน

การวาดเส้นภาพคน

การเขียนภาพคนหรือมนุษย์ ผู้ที่จะวาดภาพต้องศึกษาในเรื่องของสัดส่วน และโครงสร้างของร่างกายมนุษย์เสียก่อนเพื่อเป็นแนวทางซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่ถูกต้อง เพราะถ้าไม้ถูกต้อง หรือผิดสัดส่วน ก็จะมองหรือรู้ได้ทันทีเพราะเป็นสิ่งใกล้ตัวอยู่แล้ว การเขียนภาพคนมีสิ่งต้องคิดคำนึง อยู่มาก เพราะมีทั้งเพศหญิง เพศชาย และมีอิริยาบถต่าง ๆ เช่น นั่งนอน เดิน ยืนฯลฯ ซึ่งในแต่ละ ท่าทางของการเคลื่อนไหวจะให้ความรู้สึก และสวยงามเหมาะสมต่างกัน

สัดส่วนและโครงสร้างของมนุษย์
      การศึกษาหลักเกณฑ์สัดส่วนเบื้องต้น มีความจำเป็นในการวาดเส้นภาพคน และมีความสำคัญอ้างอิงในงานออกแบบด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะที่มุ่งประโยชน์ทางด้านการใช้สอย เพื่อกำหนดขนาดต่าง ๆ ให้เหมาะกับการใช้และอำนวยความสะดวก ในการหาระยะสัดส่วนที่เป็นมาตรฐาน จะสรุปโดยเอาค่าเฉลี่ยของคนโดยทั่วไปซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง ให้เป็นตัวแทนของคนทั้งหมด (HUMANSCALE)
      การรู้สัดส่วนช่วยให้
      1. ช่วยในการวาดภาพคนได้สัดส่วนที่ถูกต้องมีความสวยงาม หรือสร้างสรรค์ได้ตาม จุดประสงค์
      2. เป็นข้อมูลในการออกแบบผลงานต่าง ๆ เพื่อการใช้สอยที่สะดวกสบาย เพื่อความ สวยงามและ แนวความคิดสร้างสรรค์
      3. ช่วยในการสร้างเสริม ปรับปรุง หรือพัฒนาบุคลิกของบุคคล
การกำหนดสัดส่วนของมนุษย์จะถือเอากะโหลกศีรษะมาจรดปลายคางถือเป็น 1 ส่วนเต็ม ร่างกายที่ดูดีได้สัดส่วนของคนเราจะอยู่ 7 ส่วนครึ่ง แต่ก็ยังมีสัดส่วนที่สวยงามกว่าปกติขึ้นไปอีก โดยมีการจัดสัดส่วนของมนุษย์ ได้เป็น 4 ระดับ คือ
      1. สัดส่วนทั่วไป (NORMAL) 7 ครึ่ง ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ดูดีอยู่แล้ว
      2. แบบอุดมคติ (DIALISTIC) เท่ากับ 8 ส่วน มีรูปร่างสวยงามขึ้น
      3. ต้นแบบ (FASHION) เท่ากับ 8 1/2 มีรูปร่างสวยงามสง่า ใช้เป็นแบบอย่าง หรือ เดินแบบ
      4. เรือนร่างเทพนิยาย (HERDIC) เท่ากับ 9 ส่วน มีรูปร่างสวยงามสง่า เกินความ   เป็นจริง

โครงสร้างของคน อย่างง่าย และลักษณะพื้นฐานจะเห็นว่าใช้เส้นในการวาดเพียง 5 เส้นเท่านั้น เส้นแรกแนวตั้ง เป็นลำตัว เส้นที่ 2-3 ก็จะเป็นส่วนขา และ 4-5 ก็จะเป็นแขน ถ้าจะแสดงเพศหญิง หรือชาย ก็เติมเป็นส่วนหัว หรือ ทรงผม
ดังนั้นในการฝึกวาดในระยะแรก จะเป็นโครงสร้างที่เป็นเส้นตรงในแต่ละส่วนอย่างง่าย เพียง  เส้น  คือ  เส้นตรงของลำตัว เส้นตรงของขาซ้าย  ขาขวา  เส้นตรงแขนซ้าย  และแขนขวา

ดังนั้นในการฝึกวาดในระยะแรก จะเป็นโครงสร้างที่เป็นเส้นตรงในแต่ละส่วนอย่างง่าย เพียง  เส้น  คือ  เส้นตรงของลำตัว เส้นตรงของขาซ้าย  ขาขวา  เส้นตรงแขนซ้าย  และแขนขวา
การวาดโครงสร้างที่ใช้เพียง 5 เส้น จะเป็นขั้นเริ่มต้น ภาพที่ได้อาจจะให้ความรู้สึกแข็งทื่อตามสภาพของเส้นตรงและจำกัดจำนวนของเส้น แต่ถ้าฝึกไปสักระยะหนึ่งแล้วเพิ่มรายละเอียดขึ้น ในส่วนส่วนแขนและขา จากเส้นตรงก็จะเริ่มหักเส้น ในส่วนของลำแขนทั้งซ้าย-ขวา ช่วงข้อศอก และ ในส่วนของลำขาทั้งซ้าย-ขวา ช่วงหัวเข่า  ซึ่งทำให้เกิดโครงสร้างที่มีท่าทางขึ้น การงอของ ข้อศอก และ หัวเข่า จะต้องไปในทิศทางที่เป็นไปได้ของการขยับ และ การงอของมนุษย์  ภาพหรือท่าทางต่างๆ ก็จะเป็นไปตามธรรมชาติ และ มีความสวยงามตามอิริยาบถนั้น ๆ

การแต่งเติมความหนาของเส้นในบางส่วนจะเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ภาพมีมิติขึ้น มีความสวยงามขึ้น แต่ต้องเลือกในส่วนที่เป็นไปได้ใกล้เคียงกับ สัดส่วนของมนุษย์ เช่น ในส่วนของลำตัว กล้ามเนื้อของน่อง เท้า มือ เป็นต้น
การวาดเส้นโครงสร้างของคนที่มีความกว้างของร่างกาย โดยเพิ่มเส้นตรงอีก 2 เป็น 7 เส้น  คือ ส่วนเส้นตรง ที่เป็นช่วงไหล่ และ ตะโพก

เมื่อวาดได้ภาพที่เป็นโครงสร้างคนในลักษณะเส้น การตกแต่ง เพิ่มเติม ในส่วนของ ศีรษะ มือ เท้า ก็สามารถทำต่อได้รวมทั้งการใส่เรื่องราว กิจกรรมต่างๆ ให้กับรูปร่างนั้นๆ

การเขียนรูปใบหน้าหลักเบื้องต้น คนเราจะมีความสมดุลแบบซ้ายขวา คือ ทั้งซ้ายกับขวาจะมีขนาดลักษณะเหมือนกัน ดังนั้นการร่างภาพร่างเส้นเบาก่อนจะเป็นส่วนซ้ายให้การวาดรูป ใบหน้าได้สัดส่วนและเหมือน โดยมีเส้นแบ่งกลาง แบ่งเส้นระดับตำแหน่ง ตา จมูก ปาก ส่วนที่จะต้องได้มีลักษณะขนาดเท่ากันมากก็เป็นส่วนของดวงตากับหูในกรณีภาพหันหน้าตรง การวาดจากร่างเบา แล้วลงเส้นหนักจริง อาจเป็นการฝึกในระยะแรก เมื่อมีความแม่นยำก็อาจไม่ต้องร่างก็ได้

การฝึกอาจเริ่มจากภาพนั่งปกติ ด้านข้าง ด้านหน้าหน้าตรง แล้วค่อยเอียงหน้าก้ม และอาจใส่ลีลาอารมณ์ต่าง ๆ ต่อมาเมื่อมีความชำนาญขึ้น การจะเขียนวาดให้มีมุมมองต่าง ๆ อย่างไร ก็ตาม การยึด คือ เส้นดิ่งกลางหน้าและระดับตา จมูก ปาก เป็นเส้นร่างหลักที่จะเป็นสัดส่วนกำหนดให้เป็นอย่างดี

การวาดภาพคนทั้งตัว โดยนำส่วนของลำตัวจากโครงเส้น พร้อมกับกำหนดท่าทาง แล้วเพิ่มความหนาของลำตัว ส่วนของใบหน้า ก็เริ่มจากโครงสร้างของวงกลม แบ่งส่วน ตา จมูก ปาก และรายระเอียดของเครื่องแต่งกาย การฝึกเขียนภาพคนทั้งตัว โดยเฉพาะที่แสดงท่าทางต่างๆ สิ่งที่ควรระวัง คือเรื่องของ สัดส่วน จะต้องได้ภาพที่ดูเป็นลักษณะของคนปกติ สมบูรณ์ เพราะภาพคนเป็นสิ่งใกล้ตัว จึงง่ายแก่การตรวจสอบ ถ้ามีการผิดเพี้ยน

ภาพวาดเส้นภาพคนจะฝึกจากโครงเส้นอย่างง่าย และ มามีสัดส่วน คือ ส่วนหนาของลำตัว ลำแขน-ขาตามลำดับหรืออาจจะพูดในอีกแง่หนึ่งว่าจากโครงกระดูกก็มาใส่เนื้อหนัง หรือเสื้อผ้าให้ เมื่อได้ภาพที่สมบูรณ์ ก็จะเป็นขั้นตอนที่วาดภาพของคนที่ร่วมกลุ่ม จัดเป็นองค์ประกอบของภาพ เพื่อการออกแบบ หรือ เพื่อการโฆษณา ภาพวาดเส้นลักษณ์นี้ ต้องให้ความรู้สึกขององค์ประกอบรวม มีการซ้อน หรือบังภาพคน เพื่อให้ลีลาท่าทางที่น่าสนใจ ชวนมองนอกเหนือจากความถูกต้อง สวยงามของโครงร่าง ซึ่งอาจเป็นการนำท่าทางหลายลักษณะมารวมกัน

ภาพคนตามความจริงเป็นส่วนที่ใกล้ตัวที่สุด แต่ก็ไม่ง่ายที่จะวาดได้ดี และสมบรูณ์ที่สุด เพราะมีหลายรูปแบบ เช่น เด็กวัยรุ่น ผู้หญิง ผู้ชาย คนพิการ คนแก่ และทั้งหมดนี้ยังแสดงอิริยาบถต่างๆ อีกด้วย นับตั้งแต่ นอน นั่ง เดินกระโดด วิ่ง คลาน ซึ่งมีรูปแบบที่ต้องสอบได้ว่าถ่ายทอดได้ถูกต้องหรือเปล่า ที่กล่าวมานั้นยังไม่ได้รวมที่จะต้องวาดแล้วแสดงออกให้เห็นถึงอารมณ์ต่าง ๆ ได้อีก เช่น มีท่าทางโศกเศร้า ดีใจ หัวเราะ ร้องไห้ ร่าเริง ฉงน ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตามการถ่ายทอกภาพคน ก็จะเลือกวาดตามที่จะนำไปใช้งานตามจุดประสงค์นั้น ๆ

ในการวาดภาพคนโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
1. ภาพคนครึ่งท่อน (Portrait) เป็นการแสดงรายละเอียด ที่ต้องการความเหมือน มีความถูกต้อง ครบถ้วนโดยเฉพาะ แสงเงา ส่วนใหญ่จะเป็นภาพหุ่นนิ่งไม่มีอาการเคลื่อนไหว

1.    2. ภาพเต็มตัว (Figure) เป็นภาพที่วาดให้เห็นความครบถ้วนสมบูรณ์ สัดส่วนถูกต้อง และ มีการจัดท่าทางทีสง่างามในภาพเต็มตัวที่มีทั้งหุ่นนิ่งและเคลื่อนไหว

การวาดเส้นภาพคนประกอบในงานออกแบบทางสถาปัตยกรรม และงานตกแต่งภายใน จะไม่เน้นรายละเอียดของใบหน้า หรือ กล้ามเนื้อมากนักซึ่งพอจะสรุปลักษณะได้ดังนี้
1. ลักษณะของเส้นเรียบง่ายไม่ซับซ้อน
2. เน้นสัดส่วนถูกต้องและสามารถเปรียบเทียบกับสัดส่วนสิ่งที่อยู่รอบตัวได้
3. ไม่เน้นรายละเอียดของใบหน้ามากนัก วาดแต่เค้าโครง แสดงเพศ และวัย
4. ลักษณะท่าทางจะวาดให้มีความเคลื่อนไหวหรือมีอิริยาบถที่เข้าใจได้
5. มักจะเป็นภาพเห็นทั้งตัวและแต่งตัวบอกบุคลิกเด่นชัด
6. สัดส่วนที่ใช้เขียนจะมีความสวยสง่า หรือใช้สัดส่วนแปด แปดครึ่ง ถึงเก้า
รูปแบบภาพคนประกอบในงานออกแบบ
รูปแบบภาพคนประกอบในงานออกแบบทางสถาปัตยกรรม และงานตกแต่งภายใน ดังนี้

การวาดภาพคนที่เป็นส่วนประกอบงานออกแบบด้านสถาปัตยกรรม และตกแต่งภายใน อาจจะไม่ต้องวาดรายละเอียดมากนัก แต่ต้องวาดให้ได้เค้าโครงของ ผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก และท่าทาง อิริยาบถต่างๆได้ เช่นกำลังเดิน นั่ง ในบางภาพอาจจะมีการวาดตกแต่งเครื่องใช้ทั่วไปที่เข้าใจง่ายประกอบโดยมีความสอดคล้องกับงานออกแบบนั้น ๆ ด้วย เช่น กระเป๋า กล้องถ่ายรูป ซึ่งจะทำให้ภาพสมบูรณ์ สวยงาม
สรุป
การเขียนภาพคนต้องเริ่มจากโครงสร้างที่เป็นเส้นอย่างง่าย โดยศึกษาและสังเกตจากสัดส่วนของคนเราที่เป็นสิ่งอยู่ใกล้ตัวอยู่แล้ว จากโครงสร้างที่เป็นเส้นก็จะค่อยเพิ่มส่วนต่าง ๆ ทีทำให้เกิดมิติของร่างกาย เช่น ความกว้าง ลำตัว ลำแขน ขา รายละเอียดที่จะเพิ่มเติมส่วนที่สำคัญ ได้แก่ การเขียนรูปใบหน้า ซึ่งทั้งหญิงและชายก็จะใช้รูปวงกลมเป็นหลักในการร่างภาพ แต่ลักษณะของภาพคนแม้นจะเป็นสิ่งใกล้ตัว แต่ก็มีความยากง่าย ถ้าจะถ่ายทอดให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะคนเรามีทั้งเด็กทารก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ คนชรา คนพิการ และยังแสดงกิจกรรมต่างๆ เล่นดนตรี กีฬา ตลอดจนแสดงออกทางอารมณ์ เช่น โกรธ ร่าเริง เศร้า อาย ฉงน ปวดเร้า ซาบซึ้ง ฯลฯ นอกจากจะฝึกในทางด้านทักษะฝีมือแล้วการฝึกสังเกตกริยาท่าทางของคนทั่วไป เป็นแนวทางในการวาดภาพได้สมบรูณ์ ในการเขียนภาพบางครั้งก็ไม่ได้เน้นรายละเอียดทั้งหมด จะวาดให้ถูกต้องทางด้านสัดส่วนเพื่อใช้เพียงภาพประกอบให้ดูดี เช่น ในงานทัศนียภาพตกแต่งภายในหรือทางสถาปัตยกรรม


วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

พื้นฐานการวาดภาพ

ก่อนจะวาดรูปใดๆให้ได้ดั่งใจปรารถนานั้นควรฝึกพื้นฐานเหล่านี้ก่อนแล้วค่อยวาด ฝึกให้ชำนาญจนสามารถควบคุมมือให้ลากเส้นได้ ลากจนเส้นตรงให้ตรง เฉียงให้เฉียง กลมก็ต้องให้กลมจริงๆ ก่อนที่จะวาดภาพต่อไป

ถ้าไม่ฝึกพื้นฐานแบบนี้ก่อน อาจทำให้เราหงุดหงิด หงุนหง่าน จนงอแง เมื่อเราไม่สามารถบังคับเส้น หรือกล้ามเนื้อมือให้ได้ดั่งใจได้ปรารถนา

เวลาจะลากเส้นตรงดันเบี้ยวเป็นรูปหนอนหนีตายจะหมุนให้กลมเหมือนแสกปั้น กลายเป็นรูปก้อนดินเหนียวร่วงพื้นบิดไปมา
หรือการพึ่งพาแต่การดราฟจนทำให้ไม่สามารถออกไปสเก็ตภาพที่ไหนได้จะวาดภาพ land scape, sea scape, potrait ที เกร็งจนข้อมือติดขัดเหมือนคอมพิวเตอร์โดนไวรัสร่างกายคล้ายๆถูกสะกดให้นิ่ง อยู่กับที่เหมือนผีจีนที่โดนยันต์แปะหน้าผากให้ยืนสงบอยู่ตรงหน้ากระดาษหรือ ผืนผ้าใบโดยไม่กล้าทำอะไร


ในที่สุดเราก็จะเลือกล้มความตั้งใจไปโดยอัตโนมัติ กลายเป็นโดนยึดความมั่นใจไปเหมือนกับการโดนเครื่องกดเงินยึดบัตร เพราะขาดความอดทนกับเราที่ไม่ยอมจำรหัสให้ดี
อุปกรณ์ง่ายๆ ไม่กี่อย่างที่ต้องเตรียม
สำหรับการฝึกมือเพื่อเตรียมตัวสร้างผลงานช็อคโลกในอนาคต
1. ดินสอ EE+คัดเตอร์
2. กระดาษบรูฟ+กระดานสเกต
3. ยางลบ ที่พกมาไว้เพื่อความมั่นใจเหมือนกับการสวมพระไว้กันผี
4. ใจ แบบไม่ต้องเอาปอดมาด้วย

เมื่อเตรียมของเสร็จ ก่อนที่ท่านจะจับดินสอเพื่อเริ่มภาระกิจการวาดภาพเพื่อยกระดับจิตวิญญาณของมวลมนุษย์แล้ว
ควรบริหารมือก่อน เหมือนเป็นการอุ่นเครื่องหรือการหยอดน้ำมันให้ลื่นไหล ทั้งกายและใจ

การบริหารก็เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อมือ ที่เกร็งเป็นวงเวียนโดนสนิมให้คล่องแคล่ว ว่องไวเพื่อที่จะสามารถวาดผลงานสะกดโลกชิ้นโบแดงของเราได้อย่างเต็มพลัง ยิ่งกว่าโงกุนกับผู้เฒ่าเต่า

สลัดๆๆๆ พัดโบกมือไปมา โบกให้พริ้วไหวประดุจใบไม้ที่ปลิวไปตามลม
เสมือนจอมยุทธน้อยที่กำลังจะตะลุยโลดแล่นออกสู่โลกกว้าง ด้วยการบิดขี้เกียจให้เต็มที่ หมุนที่ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อแขน หัวไหล่ บริเวณเอวตรงกล้ามเนื้อใหญ่ที่หลายๆท่านใช้ในการหมุนเพื่อกำหนดวงสวิงเวลาเล่นกอล์ฟ
 มาถึงการจับดินสอ

มีการจับอยู่หลากหลายตามความถนัดแต่ที่อยากแนะนำให้ลองฝึกเพื่อความคล่องตัวและสะดวกในการใช้งาน คงมีอยู่ 4 อย่างด้วยกัน
1. จับแบบเขียนหนังสือ
   - ใช้สำหรับการเก็บรายละเอียดของงานในพื้นที่เล็ก แคบ
   - วิธีการจับแบบนี้จะใช้ข้อนิ้วในการควบคุมดินสอ เหมือนการเขียนตัวอักษร
   - เป็นการใช้กล้ามเนื้อเล็กของข้อนิ้วในการควบคุมพื้นที่แคบ หากใช้พื้นที่กว้างขึ้นก็เริ่มใช้ข้อมือเป็นศูนย์กลาง
2. จับจับแบบหลวม ใช้สำหรับร่างภาพ ต้องการสะบัดข้อมือแบบสบายๆ
3. จับแบบใช้ทุกนิ้วสัมผัส เพื่อประคองดินสอให้เป็นแนวเส้นตรงสำหรับการลากเส้นแนวดิ่ง ขวาง หรือเฉียง
4. จับแบบคว่ำมือ ใช้สำหรับการกำหนดเส้นร่างแบบคร่าวๆ และให้เบาบางที่สุด

ได้โปรด กรุณาอย่าใช้นิ้วใดนิ้วหนึ่งล๊อกดินสอ
พยายามจับให้ดินสอเป็นอิสระมากที่สุดโดยนิ้วแค่เป็นตัว ประคองดินสอไว้ให้เหมือนกับว่าดินสอนั้นเป็นส่วนหนึ่งในมือของเราที่จะ บังคับให้ปลายดินสอนั้นไปทางไหนก็ได้ตามใจปรารถนาเหมือนกับเวลาใช้นิ้วก้อย แคะขี้มูก

อีกนิดครับสำหรับการเหลาดินสอ EE อยากให้ใช้คัดเตอร์เหลาให้ไส้ดินสอออกมายาวๆหน่อย เพื่อความสะดวกกับองศาของเนื้อไม้กับไส้ดินสอเวลาวาด และที่สำคัญ อย่าทำหล่นเด็ดขาด เพราะนั้นหมายถึงไส้ดินสอจะหักข้างใน เพราะไส้เปราะมาก

ตอนนี้จะแนะนำจุดศูนย์กลางของแต่ละส่วนในการหมุนตวัดปลายดินสอให้ฉวัดเฉวียน แต่ไม่เวียนหัวถ้าทำได้

การใช้กล้ามเนื้อเล็กของข้อนิ้วในการควบคุมพื้นที่แคบสำหรับเก็บรายละเอียด
การใช้ข้อมือเป็นศูนย์กลาง เพื่อร่างภาพในวงแคบ
การใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลาง เพื่อร่างภาพในวงกว้าง
การใช้ไหล่เป็นศูนย์กลางเพื่อร่างภาพในวงกว้างมากขึ้น
กระดูกสันหลังส่วนเอว ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อใหญ่ ในการวาดภาพใหญ่ๆ อย่างวาดบนกำแพง เฟรมใหญ่ๆเป็นต้น

อีกนิดครับสำหรับการเหลาดินสอ EE อยากให้ใช้คัดเตอร์เหลาให้ไส้ดินสอออกมายาวๆหน่อย เพื่อความสะดวกกับองศาของเนื้อไม้กับไส้ดินสอเวลาวาด และที่สำคัญ อย่าทำหล่นเด็ดขาด เพราะนั้นหมายถึงไส้ดินสอจะหักข้างใน เพราะไส้เปราะมาก

ตอนนี้จะแนะนำจุดศูนย์กลางของแต่ละส่วนในการหมุนตวัดปลายดินสอให้ฉวัดเฉวียน แต่ไม่เวียนหัวถ้าทำได้

การใช้กล้ามเนื้อเล็กของข้อนิ้วในการควบคุมพื้นที่แคบสำหรับเก็บรายละเอียด
การใช้ข้อมือเป็นศูนย์กลาง เพื่อร่างภาพในวงแคบ
การใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลาง เพื่อร่างภาพในวงกว้าง
การใช้ไหล่เป็นศูนย์กลางเพื่อร่างภาพในวงกว้างมากขึ้น
กระดูกสันหลังส่วนเอว ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อใหญ่ ในการวาดภาพใหญ่ๆ อย่างวาดบนกำแพง เฟรมใหญ่ๆเป็นต้น

เริ่มฝึก
1. ลากเส้นตรงโดยจับดินสอแบบคว่ำใช้ทุกนิ้วสัมผัสให้ใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลางโดยลีอคข้อมือไว้จะได้เส้นที่ตรง
2. ลากเส้น แนวเฉียงโดยจับดินสอแบบคว่ำใช้ทุกนิ้วสัมผัสให้ใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลางโดยลีอคข้อมือไว้จะได้เส้นที่ตรง
3. ลากเส้นแนวนอน โดยจับให้ดินสอแบบคว่ำใช้ทุกนิ้วสัมผัส โดยให้ขนานไปแนวเดียวกับเส้นจะได้เส้นที่ตรง เพราะดินสอได้ถูกประคองไว้ไม่ให้กระดุกกระดิกด้วยนิ้วทั้งห้าของเราแล้ว
4. ตวัดปลายดินสอบนกระดาษด้วยเส้นโค้งสลับกับเส้นที่หมุนวน จนเข้าใจในน้ำหนัก เน้นหนัก เบา ให้ได้อารมณ์ของเส้นเหมือนสายน้ำที่กำลังเลื่อนไหล อย่างไม่หยุดนิ่ง
จาก นั้นเราก็จะมาเริ่มฝึกการใช้จินตนาการในกรสร้างขนาดและสัดส่วนของภาพเพื่อ การที่เราจะสามารถวาดภาพจากต้นแบบได้โดยเข้าใจสัดส่วนและการย่อหรือขยายใน ขนาดของภาพ

มองเป็นเส้น
ไม่ใช่เด็กเส้น แต่เป็นการฝึกการมองภาพข้างหน้าเราแล้วใส่เส้นเข้าไปในภาพนั้น ว่าขนาดรูปร่างสั้นยาวแค่ไหน แบ่งครึ่ง แบ่งเป็นสามหรือสี่ส่วน ซึ่งในการฝึกฝนแบบนี้ต้องใช้จินตนาการเป็นสำคัญ คือให้มองให้เห็นเส้นในอากาศที่เราสร้างขึ้นมาเองจากนั้นก็ทดลองลากและกำหนดแบ่งเส้น เป็นระยะๆดูคร่าวๆ กำหนดด้วยตัวเอง ลากและกำหนดแบ่งเส้น เป็นระยะๆดูคร่าวๆ กำหนดด้วยตัวเอง

หาเป็นองศา เพื่อความง่ายในการร่างภาพ ในการกำหนด ระยะ ขนาด รูปร่าง ระนาบ หรือพื้นที่ เช่น ของที่วางซ้อนกัน ถ้ามองเป็นองศาแล้วอยู่ประมาณกี่อาศา จากนั้นก็ลองนำไม้โปร มาวัดว่าที่เราเดาไว้ว่าจะแม่นหรือไม่แม่น
การลงน้ำหนัก

ใช้ดินสอ EE ตีกรอบ เพื่อฝึกการไล่น้ำหนัก 6 น้ำหนักจากนั้นก็แบ่งครึ่งในช่องน้ำหนักทั้ง 6 ไปเรื่อยๆจนสามารถกระจายน้ำหนักได้ละเอียดขึ้นเรื่อยๆการลงน้ำหนักนี้ก็เพื่อที่ว่าเราจะสามารถทำให้เกิด ความลึก ระยะ หรือมิติ เพราะตัวน้ำหนักนี้เอง สามารถทำให้เกิดภาพ 2 มิติ หรือ 3 มิติได้ ถ้าเราไม่รู้จักน้ำหนัก หรือไม่สามารถควบคุมน้ำหนักมือของเราได้ก็จะสามารถมิติพิศวงให้กับผู้ชมงานรวมทั่งตัวเราเองได้เหมือนกัน

ทีนี้ก็เริ่มร่างวงกลม
ที่เราพยายามร่างมาตั้งแต่ครั้งแรก แต่คราวนี้เราจะเริ่มลงน้ำหนักวัตถุให้กลม โดยรู้จักค่าของแสง+เงาที่สำคัญคือต้องค่อยๆเพิ่มน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆ อย่าพยายามทำครั้งเดียวให้เข้ม พยายามกระจายน้ำหนัก ให้ชัดเจนขึ้น จนกระทั่งเสร็จจากนั้นถึงทำการเน้นจุดที่เข้มที่สุดในภายหลัง

จากนั้นก็ฝึกๆๆๆๆ ฝึกจนชำนาญ ก่อนที่เราจะออกไปตะลุย Drawing ทุกอย่างที่ขวางหน้าต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

ความสำคัญของการดรออิ้ง

การวาดเส้น (Drawing)
เป็นพื้นฐานของงานทัศนศิลป์และการออกแบบมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะการ วาดเส้นทำให้เข้าใจเรื่องของ รูปทรง โครงสร้าง สัดส่วน ระยะ แสงเงา ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างงานศิลปะโดยการสร้างภาพสองมิติและสามมิติ โดยใช้เครื่องมือที่อำนวยความสะดวกที่หาง่ายในท้องตลาดในปัจจุบัน เช่น ดินสอไม้ทั่วไป ดินสอสี ดินสอEE ปากกา หมึก เครยอง ดินสอถ่าน ชอล์ก ชอล์กสี ปากกา มาร์กเกอร์ ปากกาหมึกซึม ซึ่งจะเขียนลงบนกระดาษหรือวัสดุอื่นอย่าง กระดาษแข็ง พลาสติก หนัง ผ้า กระดาน ฯลฯ ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างงานศิลปะ
การวาดเส้น (Drawing) เพื่อฝึกฝนทักษะขั้นพื้นฐาน
วาดเส้น (Drawing) เป็นวิธีการสร้างภาพเพื่อสื่อความหมายทางการมองเห็นรูปร่างของวัคถุ สิ่งของ บรรยาการศ และการเกิดมิติของภาพในขั้นเริ่มแรก คือ ปัจจัยขั้นพื้นฐาน ซึ่งเราต้องการแสดงออกหรือนำเสนอ ในบางอย่างที่เป็นรูปแบบของเราออกมา หรือเป็นการแสดงออกด้านอารมณ์ให้ผู้อื่นรับรู้จากภาพของผู้วาด และรูปภาพธรรมชาติ ฯลฯ

วาดเส้นเป็นพื้นฐานของงานทัศนศิลป์และออกแบบด้วย เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สถาปัตยกรรม ออกแบบตกแต่ง ศิลปะไทย ลายรดน้ำ เป็นต้น ก่อนที่เราจะสร้างสรรค์งานศิลปะแขนงต่างๆ ดังที่ยกตัวอย่างมา จึงทำให้เราจำเป็นที่จะต้องมีความชำนาญทางการวาดเส้นให้แม่นยำเสียก่อน และเมื่อมีความชำนาญทางการวาดเส้นแล้วก็จะทำให้การทำงานศิลปะต่างๆ ง่ายขึ้น